เครือข่ายอาสาเพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการจัดตั้งเครือข่ายอาสา RSA (Referral System for Safe Abortion) ขึ้นในปี 2557 โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. ซึ่งเป็นเครือข่ายบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา และนักสาธารณสุข และอื่นๆ จากภาครัฐและเอกชน รวมตัวกันอาสารับส่งต่อเพื่อยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ที่ปลอดภัยตามแนวทางราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ และองค์การอนามัยโลก ด้วยการใช้ยา หรือใช้เครื่องดูดโพรงมดลูก ตามข้อบ่งชี้ที่สอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับแพทยสภา ให้กับผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่มีปัญหาสุขภาพกายและใจโดยเครือข่ายอาสา RSA มีหลักการดังต่อไปนี้
รับการส่งต่อ
บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
พัฒนาระบบบริการ และระบบส่งต่อ
สนับสนุน ส่งเสริม ร่วมมือกับองค์กร หน่วยงานต่างๆ
บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบดังนี้
เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการจัดระบบส่งต่อเพื่อยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย โดยมีบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบดังนี้
อาสารับส่งต่อเพื่อยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ ที่ปลอดภัย
ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ
รับข้อเสนอแนะ การให้การปรึกษา การสนับสนุนต่างๆ
ส่งเสริมสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม
ปัจจุบันเครือข่าย RSA มีสมาชิก ประกอบด้วย
สมาชิกที่เป็นแพทย์อาสา RSA 142 คน สหวิชาชีพอาสา RSA 500 คน (ครู /อาจารย์ ,เภสัชกร,พยาบาล ฝ่ายประสานงาน,ผู้ประสานงานโครงการ,ผู้จัดการคลินิก,นักวิเคราะห์นโยบายและแผน,นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์, นักวิชาการสาธารณสุข ) กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ สถานบริการ/สถานพยาบาลของเครือข่าย RSA ทั้งภาครัฐ และเอกชนทั่วประเทศไทย
142
แพทย์อาสา RSA
500
สหวิชาชีพอาสา RSA
เข้าถึง RSA ได้อย่างไร?
ผู้ประสบปัญหาท้องไม่พร้อม สามารถเข้าถึงบริการที่ปลอดภัยที่สถานบริการในเครือข่ายอาสา RSA โดยผ่านทาง
สายปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663
เพื่อรับบริการปรึกษาทางเลือก ให้ความช่วยเหลือในประเด็นเกี่ยวเนื่อง ประสานส่งต่อหน่วยบริการ RSA และคุมกำเนิดเพื่อป้องกันท้องไม่พร้อมต่อไป
สถานบริการสุขภาพที่ปลอดภัย
805
ทั้งหมด
792
ยาฝังคุมกำเนิด
117
ห่วงอนามัย
คุยกับแพทย์อาสา RSA
Question and answer is powered by AnsPress.io