ช่องทางการรับแจ้งเหตุ 4 ช่องทางได้แก่ การเดินเข้ามาขอรับบริการโดยตรง การใช้โทรศัพท์ผ่าน call center หมายเลข 1300 การขอรับบริการผ่านทางเว็บไซต์ ของศูนย์ช่วยเหลือสังคม www.oscthailand.go.th และการขอรับบริการผ่านทางระบบโทรศัพท์มือถือ Mobile Application หลังจากคัดกรองปัญหาและพบว่าตั้งครรภ์ไม่พร้อม จะประสานส่งต่อไปยังศูนย์พึ่งได้ของโรงพยาบาล เพื่อซักประวัติ ส่งประเมินอายุครรภ์ และให้การปรึกษาทางเลือก โดยการตัดสินใจของผู้รับบริการจะมี 2 กรณี คือ 1)  ตั้งครรภ์ต่อ และ2) ยุติตั้งครรภ์ โดยศูนย์พึ่งได้จะมีบทบาททำงานในลักษณะสหวิชาชีพเพื่อประสานกับหน่วยงานต่างๆ ดำเนินงานช่วยเหลือตามทางเลือกที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาต่อไป ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ศูนย์พึ่งได้มีบทบาทโดยตรงในการดำเนินงานตามนโยบายนี้ค่อนข้างชัดเจน

ในภาพรวมของประเทศไทย แนวทางการป้องกันดูแลท้องไม่พร้อม สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะหลักๆ คือ

  1. ระยะก่อนเกิดปัญหา : เน้นการเลี้ยงดูในครอบครัวและการกล่อมเกลาทางสังคม รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษาในโรงเรียน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการป้องกันการท้องไม่พร้อม รวมทั้งบริการทางด้านการคุมกำเนิดที่เป็นมิตรและเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ระยะที่เกิดปัญหา : เป็นบทบาทตั้งแต่การรับแจ้งปัญหาท้องไม่พร้อม เช่น สายด่วนศูนย์ช่วยเหลือสังคม ฝ่ายแนะแนวในโรงเรียน ครอบครัว  และชุมชน เป็นต้น เข้าสู่บริการปรึกษาทางเลือกที่ศูนย์พึ่งได้ของโรงพยาบาล หรือหน่วยงานภาคเอกชนต่างๆ ที่มีภาระกิจในด้านให้ความช่วยเหลือต่างๆ ตามทางเลือกให้ได้รับบริการ ดูแลช่วยเหลือที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ
  3. ระยะคลี่คลายปัญหา :  ทั้งในกลุ่มที่ตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อ และยุติตั้งครรภ์ จะได้รับการฟื้นฟูร่างกาย จิตใจ และสังคม รวมทั้งการช่วยเหลือในกระบวนทางกฎหมายและสวัสดิการสังคม ป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ และสามารถมีศักยภาพในการดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ

ที่มา : คู่มือท้องไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 5 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 2

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้