นำทีมโดย นายพีระ รัตนวิจิตร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หลังจากการบังคับใช้กฎหมายจาก พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อนำนโยบายสู่การปฏิบัติ เด็กในระบบการศึกษา มีส่วนเกี่ยวข้องครอบคลุมทุกระบบการศึกษา

จากระบบข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า เด็กขาดการดูแลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปฐมวัย ในแต่ละปีมีเด็กเกิด 600,000 – 700,000 คน โดยเกิดจากแม่วัยใส 100,000 คน ซึ่งคุณแม่วัยใสขาดทั้งไอโอดีน ธาตุเหล็ก ส่งผลกระทบถึงเด็กปฐมวัย คิดว่า พ.ร.บ. นี้ได้ส่งเสริมการศึกษาโดยตรง เด็กวัยรุ่นไทยมีเพศสัมพันธุ์เร็วขึ้น ขาดทักษะชีวิตในเรื่องเพศ ครอบครัวเลี้ยงลูกแบบตามใจ การจัดการเรียนการสอนเพศศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการมีมานาน เน้นทักษะชีวิตในหลายรูปแบบ

ศึกษาธิการพัฒนาคุณครูเพื่อนำไปพัฒนาการเรียนการสอน ระบบการช่วยเหลือนักเรียน ขาดตรงไหนหน่วยงานต้องพัฒนา รวมทั้งเด็ก ครอบครัว มีการพัฒนาสื่อช่วยสอน ซึ่งกระทรวงศึกษาได้ทำมานานก่อนที่ พ.ร.บ. ตั้งครรภ์วัยรุ่นจะออกมา เมื่อมีกฎหมายรองรับก็ส่งผลให้การปฏิบัติเป็นระบบและเข้มข้นมากขึ้น ครอบคลุมในและนอกระบบการศึกษา…

ดร.ธีร์ ภวังคนันท์ ผอ.ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รายงานว่า ปี 2555 – 2560 ได้มีการคุ้มครองช่วยเหลือเด็กนักเรียนกรณีท้องไม่พร้อมรวมทั้งสิ้น 728 ราย ในจำนวนนี้เป็นการท้องจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ 21 ราย

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าว RSA มีข้อสังเกตว่า การเข้าถึงข้อมูลทางเลือกการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยของกระทรวงศึกษาธิการในระดับนโยบาย ยังมีค่อนข้างจำกัดอยู่ค่ะ

รายงานจากการประชุมระดับชาติ สุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 3
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จากยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน วันที่ 28 มกราคม 2562
รายงานโดย : เครือข่าย RSA (rsathai.org)

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 5 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 1

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้