“สปสช. จัดสรรงบเพิ่มยายุติการตั้งครรภ์”

อ่านแล้วสงสัยไหม? ขอขยายความแบบนี้นะ… ยายุติการตั้งครรภ์ (Medabon) ขึ้นทะเบียนในประเทศไทยเมื่อปลายปี 2557 และกระจายไปใช้ในโรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนการใช้ยากับกรมอนามัย

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รายงานว่า อัตราการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลพบว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยลดลง 12 ล้านบาทในปี 2558 และลดต่อเนื่องในปี 2559 ถึง 20 ล้านบาท สรุปคือ ขึ้นทะเบียนยายุติการตั้งครรภ์มาใช้สองปี ประเทศไทยประหยัดงบประมาณถึง 32 ล้านบาท

งบประมาณที่จัดสรรเพื่อเพิ่มยายุติการตั้งครรภ์ จึงเป็นไปเพื่อการป้องกันการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย เพราะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และที่สำคัญกว่านั้นคือ รักษาชีวิตของผู้หญิงไทยไว้ได้

มีผู้สอบถามจำนวนมากว่า ยาทำแท้งที่ขายในอินเทอร์เน็ต คือยาที่ขึ้นทะเบียนกับ อย. กระทรวงสาธารณสุขใช่หรือไม่ คำตอบคือ “ไม่ใช่” ยายุติการตั้งครรภ์ (Medabon) มีให้บริการในสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนการใช้ยากับกรมอนามัยเท่านั้น ผู้มีปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อม สามารถโทรปรึกษาที่ 1663 เพื่อประสานเข้ารับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยได้

อ่านข่าวฉบับเต็มได้ที่ : https://bit.ly/3289gaG

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 4.8 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 12

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้