วันที่ 28 กันยายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์เพื่อเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย โดยมีการจัดกิจกรรมรณรงค์พร้อมกันในหลายประเทศทั่วโลก[1] การรณรงค์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการสร้างความเข้าใจกับสาธารณชนและผู้กำหนดนโยบาย เกี่ยวกับสภาพปัญหาและทางออกในเรื่องการเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย เพื่อคุ้มครองชีวิตของผู้หญิงถึงกว่า 21.6 ล้านคนทั่วโลก ที่ยังต้องเสี่ยงอันตรายจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยในแต่ละปี และเพื่อขจัดปัญหาที่มีผู้หญิงจำนวนถึง 47,000 คนทั่วโลกต้องเสียชีวิตลงทุกปี จากสาเหตุการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย

แม้ว่าองค์การอนามัยโลกจะประกาศให้การเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยเป็นนโยบายด้านสุขภาพที่สำคัญในระดับโลก แต่ในประเทศไทย การตั้งครรภ์ไม่พร้อมของผู้หญิงและการแสวงหาช่องทางเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ยังเป็นสิ่งที่ถูกสังคมตีตรา เพราะถูกนำไปเชื่อมโยงกับการละเมิดบรรทัดฐานเรื่องเพศสำหรับผู้หญิงของสังคมไทย หรือถูกนำไปเชื่อมโยงกับประเด็นทางศีลธรรม โดยมองข้ามเหตุผลความจำเป็น ตลอดจนผลกระทบด้านสุขภาพและด้านสังคม ผลที่ตามมาคือ สังคมไทยยังขาดการยอมรับ ขาดการเผยแพร่ข้อมูล และยังมีข้อจำกัดในการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย ผู้หญิงจำนวนมากจึงยังเข้าไม่ถึงบริการ และยังต้องเสี่ยงอันตรายจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยต่อไป

ในปี 2562 การรณรงค์ระดับสากลได้เน้นไปที่การรณรงค์ด้วยคำขวัญว่า “Abortion is Health Care” โดยแฮชแท็กการรณรงค์ #MyAbortionMyHealth สำหรับในประเทศไทยกว่า 16 องค์กร ได้แก่ ภาคีเครือข่ายสมาชิกเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกสำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม , เครือข่ายอาสา RSA (Referral
System for Safe Abortion) ,สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663 , สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข , สมาคมเพศวิถีศึกษา , แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ ,สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ IHPP , สถานเอกอัครราชทูตแคนาดา ,กลุ่มทำทาง , women on web , women help women , กลุ่มการเมืองหลังบ้าน , กลุ่มโรงน้ำชา , มูลนิธิมนุษยะ ,สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และเครือข่ายคนทำงาน ได้ร่วมกันจัดงานรณรงค์ในประเทศไทย โดยใช้แนวทางหลักในการณรงค์เดียวกันกับนานาชาติคือ “การยุติการตั้งครรภ์คือบริการสุขภาพ” และใช้แฮชแท็กที่สื่อความหมายได้กว้างขึ้น คือ #OurRightsOurAbortionOurHealth และจัดงานในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 10.30 – 19.00 น. ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลป์ กรุงเทพฯ


[1] ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.september28.org/

กำหนดการการประชุมเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อมครั้งที่ 49 ProVoice6 การทำแท้งเป็นเรื่องสุขภาพ: Our Rights, Our Abortion, Our Health ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร วันพุธที่ 25 กันยายน 2562 เวลา 10.30 – 19.00 น.

พิธีกร: ชุมาพร แต่งเกลี้ยง และรัตนา ด้วยดี

10.30 – 11.30 น. + Tang Talk: Young Feminist’s Voices on Abortion

เนื้อหาโดยย่อ: มุมมองเรื่องทำแท้งจากเสียงของนักกิจกรรม นักเขียน และเฟมินิสต์รุ่นใหม่ ที่ทำงานขับเคลื่อนสังคม โดยใช้มุมมองของเฟมินิสต์เพื่อตั้งคำถามกับ ความเป็นธรรมทางสังคม อำนาจชายเป็นใหญ่ และสิทธิตัวตนของผู้หญิง 

ผู้ดำเนินรายการ: นพนัย ฤทธิวงศ์, นักกิจกรรมผู้หญิงข้ามเพศ จากมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ

Speakers: 

  1. ปนิธิตา เกียรติ์สุพิมล – นักเขียน และผู้ก่อตั้ง สำนักพิมพ์ PS Publishing เป็นตัวแทนสำนักพิมพ์ซึ่งทำหนังสือที่มีเนื้อหาให้ผู้หญิงอ่าน ด้วยน้ำเสียงของเพื่อน น้ำเสียงของการไม่ตัดสิน และพร้อมเข้าใจ
  2. เอกวัฒน์ พิมพ์สวรรค์ – นักกิจกรรมเฟมินิสต์ กลุ่มโรงน้ำชา 
  3. กรกนก คำตา – นักกิจกรรมการเมืองและเฟมินิสต์ กลุ่มการเมืองหลังบ้าน
  4. ศิริพร ทุมสิงห์ – ครูแนะแนวตามแนวคิดมนุษยนิยม
  5. พญ.ขวัญชนก หอมแสงประดิษฐ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว รามาธิบดี ผู้ก่อตั้งเฟซบุคเพจ “น้องสาว”*

Visual Thinking: อารยา ชูศรี – นักกิจกรรม นอนไบนารี่ กลุ่มโรงน้ำชา

11.30 – 12.00 น.         ชมนิทรรศการ “เครื่องมือและยาทำแท้ง” และจำหน่ายเสื้อยืดรณรงค์

12.00 – 13.30 น.          รับประทานอาหารตามอัธยาศัย (ช่วงนี้เปิด VDO Pro-Voice#3 เมื่อ 23 ก.ย. 2559: การทำแท้ง ทำได้ ปลอดภัย ถูกกฎหมาย)

13.30 – 14.15 น. + Our Rights: สิทธิของผู้หญิง

เนื้อหาโดยย่อ: ผู้หญิงที่เคยผ่านประสบการณ์ทำแท้งกลุ่มเล็กกลุ่มหนึ่ง มีโอกาสได้มาพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้สึกนึกคิดของตัวเองเกี่ยวกับการทำแท้ง ผ่านกระบวนการศิลปะและการเขียน ออกมาเป็น E-Book เรื่อง  “เล่าเรื่องให้ (ตัว) เราฟัง”  ซึ่งจะเปิดตัวเป็นครั้งแรกในงานนี้ ถ่ายทอดผ่านการแสดงสดประกอบดนตรี โดยสมาชิกกลุ่มทำทาง กลุ่มที่ทำงานให้คำปรึกษาและรณรงค์เพื่อการทำแท้งปลอดภัย  ในธีม “การทำแท้งเป็นสิทธิของผู้หญิง ตัวอ่อนมีสิทธิไหม หมอควรสนับสนุน”

วิทยากร: นำโดยสุพีชา เบาทิพย์ จากกลุ่มทำทาง

14.15 – 15.00 น. + Our Abortion: ทำแท้งปลอดภัย

เนื้อหาโดยย่อ: แนะนำวิธีการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยทางการแพทย์ ฉบับสำหรับประชาชน โดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศ (Manual Vacuum Aspiration: MVA) และ การใช้ยา (Medical Abortion: MA) ตามอายุครรภ์ เน้นย้ำว่าปัจจุบันวิธีการขูดมดลูกนั้นล้าสมัย องค์การอนามัยโลกให้ยกเลิก และกระทรวงสาธารณสุขไทยก็ไม่สนับสนุนวิธีการนี้

วิทยากร: ผศ.นพ.สัญญา ภัทราชัย อาจารย์ประจำภาควิชาสูตินรีเวช คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 

ผู้ดำเนินรายการ: ธนานุช สงวนศักดิ์ นักสื่อสารมวลชนอิสระ รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชนปี พ.ศ. 2558

15.00 – 15.45 น. + Our Health: สุขภาพของเรา

เนื้อหาโดยย่อ: Abortion is Health Care ทำแท้ง คือบริการสุขภาพด้านหนึ่ง เป็นเหตุการณ์ปกติ เหมือนเป็นหวัดทางนรีเวช ถ้าสังคมยังมีความฝันถึงความเสมอภาคและความเท่าเทียม สังคมควรมองการท้องไม่พร้อมและการทำแท้งว่าเป็นเรื่องปกติ เหมือนคนที่มารับการรักษาการมีบุตรยาก มะเร็งปากมดลูก หรือกระทั่งเป็นหวัด การเปิดโอกาสให้เขาได้เข้ามาพูดคุย หารือ ร่วมหาทางออก มันคือสังคมแห่งความเสมอภาคที่เราฝันถึง

วิทยากร: ผศ.นพ.ธนพันธ์  ชูบุญ อาจารย์ประจำภาควิชาสูตินรีเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

15.45 – 17.00 น. + Our Commitments: รวมพลังทุกก้าวเพื่อการทำแท้งปลอดภัย

เนื้อหาโดยย่อ: ช่วงแห่งการแสดงความมุ่งมั่นในพันธสัญญาต่อการขับเคลื่อนเพื่อสิทธิและคุณค่าชีวิตของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม Abortion is Health Care ด้วยการสนับสนุน เอื้ออำนวย และพัฒนาให้เกิดระบบบริการที่เข้าถึงและปลอดภัย

วิทยากร:

  • นายแพทย์บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย เสนอนโยบายและการสนับสนุนการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในระบบสุขภาพ
  • ภก. คณิตศักดิ์ จันทราพิพัฒน์ ผอ. สำนักสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิ สปสช.
    เสนอการสนับสนุนบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในระบบหลักสุขภาพแห่งชาติ
  • ชาติวุฒิ วังวล  ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ สสส.
  • นพ.นิธิวัชร์ แสงเรือง – เครือข่าย RSA
  • ทัศนัย ขันตยาภรณ์ – เครือข่ายท้องไม่พร้อม  
  • สุภาพร คุณโลหิต – ผู้หญิงทำแท้ง 
  • วราภรณ์  แช่มสนิท – ภาคประชาสังคม
  • เอมอร คงศรี – ตัวแทนผู้ให้คำปรึกษาทางเลือก 1663  

ดำเนินรายการโดย จิตติมา ภาณุเตชะ เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม

17.00 – 18.30 น. + เสวนา “มายาคติและการเมืองเรื่องทำแท้งในภาพยนตร์”  

เนื้อหาโดยย่อ: ในขณะที่สังคมถูกปิดกั้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องการทำแท้งปลอดภัย นักการเมืองไทยไม่กล้าแสดงจุดยืนสนับสนุนเรื่องสิทธิในการทำแท้ง  ต่างจากในต่างประเทศที่ประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญมากประเด็นหนึ่งที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อเสียงสนับสนุนทางการเมือง สื่อภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีอิทธิพลทั้งต่อการนำเสนอภาพการทำแท้ง ในแง่การตอกย้ำอคติ ตีตราผู้หญิงที่ทำแท้ง  รวมทั้งนำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ทางการเมืองของผู้ที่มีความเห็นตรงข้ามกันในประเด็นนี้ทั้งสองฝ่าย 

วิทยากร:

  • ทราย เจริญปุระ  นักแสดง นักเขียน และผู้กำกับภาพยนตร์รักจัดหนัก ตอน “ทอมแฮ้ง”
  • ศานต์ฤทัย สาเพิ่มทรัพย์  เจ้าของวิทยานิพนธ์เรื่อง “การสร้างความหมายของผู้หญิงทำแท้งผ่านภาพตัวแทนในภาพยนตร์ไทย”
  • ก้อง ฤทธิ์ดี  นักวิจารณ์ และคอลัมนิสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์ 
  • กฤตยา อาชวนิจกุล  เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม

ผู้ดำเนินรายการ: วราภรณ์ แช่มสนิท ผู้จัดการแผนสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ

รับชมย้อนหลัง : https://fb.watch/ba2aOqiUFH/

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 4.5 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 15

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้