การทำแท้งในประเทศไทยไม่ได้ผิดกฎหมายทั้งหมด กฎหมายอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถตัดสินใจทำแท้งได้โดยแพทย์ โดยมีข้อบ่งชี้เหตุผลทางการแพทย์เพื่อสุขภาพและชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งการตั้งครรภ์ที่เกิดจากความผิดทางเพศ ดังต่อไปนี้

1. การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อชีวิตหรือสุขภาพทางกายของผู้หญิง

2. การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา 

3. การตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าหญิงนั้นจะสมยอมหรือไม่ก็ตาม

4. การตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจาร สนองความใคร่ 

5. การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิง (เพิ่มเติมในข้อบังคับแพทยสภา พ.ศ. 2548 ขยายความ ”สุขภาพ” ให้ครอบคลุมทางกายและใจ แต่ยังไม่ถูกระบุไว้ในกฎหมาย)

6. ทารกในครรภ์มีความพิการ (เพิ่มเติมในข้อบังคับแพทยสภา พ.ศ. 2548 โดยใช้เหตุผลปัญหาสุขภาพทางใจของผู้หญิง แต่ยังไม่ถูกระบุไว้ในกฎหมาย)

ผลสำรวจโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จากรายงานเฝ้าระวังการแท้งประเทศไทย พ.ศ. 2560 จากโรงพยาบาล จำนวน 388 แห่ง ใน 28 จังหวัด พบว่าร้อยละ 45.5 ทำแท้งเนื่องจากเหตุผลทางด้านสุขภาพกาย ในขณะที่ร้อยละ 54.5 ทำแท้งด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ สังคม และครอบครัว โดยใช้การตีความจากข้อบังคับแพทยสภาว่า ผู้ที่ต้องเผชิญปัญหาเหล่านี้ มีปัญหาสุขภาพทางใจ

โดยมี 9 อันดับเหตุผลที่ผู้หญิงทำแท้ง ดังนี้ 

1. มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร ร้อยละ 59.4
2. การตั้งครรภ์เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ ร้อยละ 37.9
3. ยังเรียนไม่จบ ร้อยละ 31.3
4. มีบุตรพอแล้ว ร้อยละ 26.2
5. ยังไม่พร้อมที่จะแต่งงาน ร้อยละ 23.4 
6. ฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ ร้อยละ 13.2 
7. มีบุตรถี่เกินไป ร้อยละ 10.0 
8. หย่า/เลิกกับสามี/เพื่อนชายหลังจากตั้งครรภ์ ร้อยละ 6.1
9. ฝ่ายชายมีครอบครัวแล้ว ร้อยละ 5.2

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 5 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 7

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้