การที่หมอคนหนึ่งจะยืนหยัดให้บริการยุติการตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลได้นั้นมันไม่ง่ายเลย ต้องผ่านปัญหาสารพัดและต่อสู้กับอคติมากมายจากบุคลากรในโรงพยาบาลที่เชื่อว่าการทำแท้งนั้นคือบาป ที่จริงแล้วถ้าหมออยู่เฉยๆ ปฏิเสธคนไข้ไป…ดูเหมือนจะง่ายกว่า แต่นั่นไม่ใช่วิสัยของแพทย์ RSA …

การที่ประเทศเรามีผู้หญิงจำนวนมากต้องบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย ได้ปลุกให้บุคลากรสาธารณสุขจำนวนหนึ่งลุกขึ้นมาในนามของเครือข่ายอาสา RSA เพื่อทำอะไรบางอย่างกับความสูญเสียที่ไม่จำเป็นนี้ แต่การทำงานนั้นกลับไม่ราบรื่นและง่ายดาย โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด19

ณ โรงพยาบาลในอำเภอหนึ่งในภาคอีสาน มีแพทย์และทีมงาน RSA ให้บริการยุติการตั้งครรภ์โดยรับส่งต่อจากสายปรึกษา 1663 หน่วยบริการปรึกษา และจากรพ.ที่ไม่มีบริการนี้ ที่สำคัญคือที่นี่หมอรับบริการที่อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลไม่กี่แห่งในประเทศที่ให้บริการ

กลางเดือนมีนาคม-ในช่วงต้นของการระบาดของโควิด ทีมงานถูกขอให้ยกเลิกบริการนี้เพื่อเตรียมรับวิกฤตโควิด แต่หมอยืนยันว่ามีความจำเป็น โดยต่อรองขอลดจำนวนผู้รับบริการต่อวัน เมื่อการระบาดของโควิดมากขึ้น ก็ถูกขอให้เลิกรับผู้ที่มาจากจังหวัดเสี่ยงโควิด 10 จังหวัด

ต่อมาจังหวัดที่โรงพยาบาลตั้งอยู่เริ่มมีมาตรการล็อกดาวน์ ผู้รับบริการต่างจังหวัดเข้ามาก็ให้กักตัว 14 วันก่อนเข้ารับบริการ ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นเป็นไปไม่ได้เพราะโรงแรมที่พักในอำเภอได้ปิดตัวลงหมด ซึ่งนั่นหมายความว่า..หมอและทีมงานก็ถูกสั่งให้บริการเฉพาะในเขตจังหวัดไปโดยปริยาย…หมอได้พยายามชี้แจงให้กับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลให้เห็นถึงความสำคัญของบริการนี้ ต่อความเสี่ยงของผู้หญิงที่จะไปลงเอยด้วยการแท้งเถื่อน โดยเฉพาะในอายุครรภ์สูงๆ แต่ดูเหมือนบุคลากรในโรงพยาบาลจะยินดีมากกว่าหากไม่ต้องมีบริการยุติการตั้งครรภ์ ณ โรงพยาบาลแห่งนี้เลย..

แต่ในที่สุด.. ความมุ่งมั่นบวกกับหัวใจที่ดันทุรังก็ประสบผล วันต่อมาผู้บริหารได้หารือและตกลงให้บริการต่อไปได้โดยมีข้อแม้ว่าให้ลดอายุครรภ์ลง และทุกรายต้องให้บริการโดยไม่มีการพักค้างที่โรงพยาบาล…

ขอชื่นชมในความมุ่งมั่นของแพทย์และทีมงานอาสา RSA นะ..

มีปัญหาท้องไม่พร้อมโทร 1663 หรืออินบ๊อกมาที่เพจ 1663 หรือ rsathai คุณจะปลอดภัย และอาจได้มีโอกาสได้รับการรักษาจากหมอและทีมงาน RSA นักสู้ที่ไม่ยอมแพ้นี้ก็ได้นะ 

FACT..

เครือข่ายอาสา RSA ก่อตั้งในปี 2558 ข้อมูลของ สปสช. ในปี 2557 มีผู้หญิงจำนวนกว่า 3 หมื่นรายต้องติดเชื้อและเจ็บป่วยจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย รัฐต้องสูญเงินไปถึง 144 ล้านบาทในการดูแลรักษา ซึ่งจำนวนที่แท้จริงคงมากกว่านั้น… การมีเครือข่ายอาสา RSA และการสนับสนุนค่าบริการจากสปสช. ทำให้จำนวนการติดเชื้อลดลงเหลือ 2 หมื่นกว่าราย ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลก็ลดลงเหลือ 132 และ 112 ล้านตามลำดับในปี 2558 และ 2559 

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 5 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 8

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้