หลักการและเหตุผล

โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม มีเป้าหมายในการพัฒนาเครือข่ายบริการทั้งตั้งครรภ์ต่อและยุติการตั้งครรภ์ให้มีความเข้มแข็ง เข้าถึงได้ ปลอดภัยและเป็นมิตร รวมทั้งการแสวงหาความต่อเนื่องในการดำเนินงานได้อย่างยั่งยืนในระบบต่อไป โครงการมีวัตถุประสงค์ 4 ข้อคือ 1) พัฒนาความเข้มแข็งและเครือข่ายหน่วยบริการที่ดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ต่อ 2) ขยายบริการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ที่ปลอดภัยอย่างทั่วถึงด้วยการพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งของเครือข่าย RSA 3) สร้างความเข้าใจสาธารณะต่อสิทธิในทางเลือกของวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยใช้เครื่องมือสื่อสารออนไลน์ การรณรงค์ และเวทีเสวนาต่างๆ 4) จัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและผลักดันข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โครงการได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้ความร่วมมือของ สมาคมนักวิจัยประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

วันที่ 28 กันยายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์เพื่อเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย โดยมีการจัดกิจกรรมรณรงค์พร้อมกันในหลายประเทศทั่วโลก(1) การรณรงค์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการสร้างความเข้าใจกับสาธารณชนและผู้กำหนดนโยบาย เกี่ยวกับสภาพปัญหาและทางออกในเรื่องการเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย เพื่อคุ้มครองชีวิตของผู้หญิงถึงกว่า 21.6 ล้านคนทั่วโลก ที่ยังต้องเสี่ยงอันตรายจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยในแต่ละปี และเพื่อขจัดปัญหาที่มีผู้หญิงจำนวนถึง 47,000 คนทั่วโลกต้องเสียชีวิตลงทุกปี จากสาเหตุการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้น องค์การอนามัยโลกจึงประกาศให้การเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยเป็นนโยบายด้านสุขภาพที่สำคัญในระดับโลก 
(1) ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.september28.org

ในปี 2562 ที่ผ่านมา การรณรงค์ระดับสากลได้เน้นไปที่การรณรงค์ด้วยคำขวัญว่า “Abortion is health care” สำหรับงานรณรงค์ในประเทศไทย ได้ใช้แนวทางหลักในการณรงค์เดียวกันกับนานาชาติคือ “การยุติการตั้งครรภ์คือบริการสุขภาพ” ในปี 2563 นี้ ทางโครงการพัฒนาเครือข่ายบริการที่ปลอดภัย ได้จัดงานรณรงค์ขึ้นโดยใช้แนวทางรณรงค์เดียวกับนานาชาติ โดยได้ผนวกกับการประชุมเสนอผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเครือข่ายบริการที่ปลอดภัยระยะสุดท้าย และถือว่าเป็นประชุมสาธารณะเพื่อปิดโครงการด้วย ในวันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 09.00 น. – 17.30 น. ณ ห้องกิ่งเพชร โรงแรมเอเชีย ถนนพญาไท กรุงเทพมหานคร

วัตถุประสงค์
1. เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานของโครงการฯ ในการขับเคลื่อนเครือข่ายบริการท้องไม่พร้อมเพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย และการตั้งครรภ์ต่ออย่างมีคุณภาพ
2. เพื่อชี้ให้เห็นช่องว่างที่ยังต้องการพัฒนาทั้งด้านการยุติการตั้งครรภ์และการตั้งครรภ์ต่ออย่างมีคุณภาพ รวมทั้งพันธะสัญญาที่ต้องสานต่อการดำเนินงานร่วมกัน
3. เพื่อร่วมกับนานาชาติในการรณรงค์สร้างความตระหนักต่อการป้องกันการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยเนื่องในวันยุติการตั้งครรภ์สากลในประเทศไทย

กำหนดการเสวนาและรณรงค์ (ProVoice#7)
ชีวิตและสิทธิของหญิงท้องไม่พร้อม: ความสำเร็จและพันธกิจที่ต้องสานต่อ

พิธีกร : นางสาวชุมาพร แต่งเกลี้ยง
ภาคเช้า ดำเนินรายการโดย คุณทัศนัย ขันตยาภรณ์ – เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม

09.00 – 09.15 น.
พิธีเปิดการเสวนา โดย นพ.บัญชา ค้าของ – รองอธิบดี กรมอนามัย  

09.15 – 10.15 น.
เสวนา “ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการพัฒนาเครือข่ายบริการที่ปลอดภัย”
สร้างการเข้าถึงบริการปรึกษาทางเลือกเมื่อท้องไม่พร้อม
โดย คุณสมวงศ์ อุไรวัฒนา – หัวหน้าศูนย์ปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663
ขยายหน่วยบริการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ 
โดย นพ.บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ – ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก
ขับเคลื่อนแนวทางตั้งครรภ์ต่ออย่างมีคุณภาพ 
โดย คุณจิตติมา ภาณุเตชะ – เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม

10.15-10.55 น.
ขอบคุณและชื่นชมความร่วมมือผู้ร่วมสร้างความสำเร็จ  
มอบรางวัลโดยประธานเปิดประชุม นพ.บัญชา  ค้าของ – รองอธิบดี กรมอนามัย
• กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข – นพ.พีระยุทธ สานุกูล ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์
• สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) – เลขาธิการหรือผู้แทน
• สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) – คุณชาติวุฒิ วังวล  ผู้อำนวยการ สำนัก 2 สสส.
• กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ – คุณอนุกูล ปีดแก้ว รองปลัดกระทรวงพม.
• ผู้ให้การปรึกษาท้องไม่พร้อม
1. คุณสมวงศ์ อุไรวัฒนา – ผู้แทนสายด่วน 1663 
2. คุณเยาวเรศ คำมะนาด – นายกสมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ 
• ผู้ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย – นพ.เรืองกิตติ์ ศิริกาญจนกูล ผู้แทนแพทย์จากเครือข่ายอาสา 

10.55 – 12.30 น. เสวนา “แต่..ยังมีช่องว่างที่ต้องการพัฒนา”
การตีตราสังคมต่อเรื่องทำแท้งยังคงดำรงอยู่
โดย รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์  – คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
บริการยุติการตั้งครรภ์ยังเข้าถึงยาก 
โดย คุณสุพีชา เบาทิพย์ – กลุ่มทำทาง
เรายังดูแลแม่และเด็กจากท้องไม่พร้อมไม่ครบวงจร 
โดย รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล – เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม

ภาคบ่าย ดำเนินรายการโดย จิตติมา ภาณุเตชะ – เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม

13.30 – 15.30 น. เวทีสาธารณะ “พันธกิจที่ต้องสานต่อ” 
1. เสียงจากผู้หญิงที่ต้องการปลดแอก
1.1 ว่าด้วยแนวคิด โดย คุณชุมาพร แต่งเกลี้ยง  – คณะทำงานผู้หญิงปลดแอก
1.2 ว่าด้วยมายาคติต่อผู้หญิง โดย คุณโชติรส นาคสุทธิ์ – เจ้าของเพจสตรีผู้หลงไหลในบทกวี
1.3 ว่าด้วยประสบการณ์ทำแท้ง โดย คุณนิศารัตน์ จงวิศาล – กลุ่มทำทาง

2. กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเรื่องการทำแท้ง ทำไมต้องยกเลิกมาตรา 301
2.1 กฎหมายที่มีอยู่ไม่เป็นธรรมอย่างไร?  โดย คุณสุไลพร ชลวิไล – กลุ่มทำทาง 
2.2 สิทธิตัดสินใจทำแท้งเป็นของใคร?  โดย นพ.นิธิวัชร์ แสงเรือง – เครือข่ายอาสา
2.3 เสียงของหมอทำแท้งที่ไม่มีใครได้ยิน  โดย นพ.วรชาติ มีวาสนา – เครือข่ายอาสา

3. กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมต้องจบในรุ่นเรา  โดย คุณเบญจมาภรณ์ นิวาส – กลุ่มนักเรียนเลว 

15.30 – 16.30 น. ผู้แทนพรรคการเมืองแสดงเจตนารมณ์ต่องานเพื่อสิทธิของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม

1. ผู้แทนพรรคก้าวไกล
2. ผู้แทนพรรคเพื่อไทย
3. ผู้แทนพรรคพลังประชารัฐ
4. ผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์
5. ผู้แทนพรรคเสรีรวมไทย 
6. ผู้แทนพรรคภูมิใจไทย 
7. ผู้แทนพรรคสามัญชน
8. ผู้แทนพรรคประชาชาติ 

16.30 – 17.00 น. ร่วมประกาศเจตนารมณ์ 
“พันธกิจที่ต้องสานต่อเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม”
โดย คุณรวงทัพพ์  แก้วแกมจันทร์ – กลุ่มหิ่งห้อยน้อย

17.30 น. ร่วมเดินรณรงค์ไปประกาศเจตนารมณ์อีกครั้งที่บริเวณสกายวอร์ก สี่แยกปทุมวัน

กำหนดการแถลงข่าว เวลา 09.40 – 11.00
ความสำเร็จของโครงการเพื่อสร้างเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม โดย
1. นพ.บัญชา ค้าของ – รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
2. รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล – ผู้ประสานงานเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม
3. คุณชาติวุฒิ วังวล – ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ (สำนัก 2) สสส.

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 5 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 3

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้