เดือนกันยายนของทุกปี ทั่วโลกจะมีการจัดรณรงค์เพื่อเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย เพราะมีผู้หญิงจำนวนถึง 47,000-70,000 คนทั่วโลก ต้องเสียชีวิตทุกปีจากสาเหตุการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย

องค์การอนามัยโลกจึงประกาศให้การเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยเป็นนโยบายสุขภาพที่สำคัญระดับโลกทางโครงการพัฒนาเครือข่ายบริการที่ปลอดภัย จึงรณรงค์ตามแนวทางของนานาชาติคือ “การยุติการตั้งครรภ์คือบริการสุขภาพ”

ช่วงเดือนกันยายน 2563 ประเทศไทย ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญต่อเนื่องมาจากปลายเดือนสิงหาคมเกี่ยวกับความคิดเห็นที่ต่างกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง, องค์กรวิชาชีพในเรื่องการปรับแก้กฎหมายการยุติการตั้งครรภ์เกี่ยวกับอายุครรภ์ที่ควรได้รับการยุติการตั้งครรภ์ 

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกาได้มีการแจ้งร่างการแก้กฎหมายยุติการตั้งครรภ์มาตรา 301, 305 ประกาศในเว็บไซต์ของสำนักงาน มีการให้เหตุผลว่าร่างนี้ได้มาจากการรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และประกาศให้ประชาชนส่งความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายดังกล่าวไปที่เว็บของสำนักงานได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ช่วงแรกตั้งแต่วันที่ 13 – 28 สิงหาคม 2563 และขยายเวลาต่อจนถึงวันที่ 18 กันยายน 2563 

โดยมีการส่งต่อข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องว่าทางด้านองค์กรวิชาชีพ ได้แก่ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย แพทยสภา ยึดที่อายุครรภ์ไม่ควรเกิน 12 สัปดาห์ เหตุผลหลักๆ คืออายุครรภ์ที่จะยุติการตั้งครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์จะมีความปลอดภัย แต่ถ้าเกิน 12 สัปดาห์จะเสี่ยงอันตรายต่อชีวิต มีความปลอดภัยน้อย 

นอกจากนี้ยังมีเหตุผลของผู้ออกกฎหมายที่กำหนดเกี่ยวกับการให้ผู้หญิงที่ทำแท้งเกิน 12 สัปดาห์ต้องมีความผิด มีโทษทางอาญา ที่ทางกลุ่มภาคประชาสังคมที่ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดโทษนี้ได้ไปสืบค้นหาได้พบว่า “เหตุผลคือเพื่อคุ้มครองคุณธรรมทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับชีวิตของทารกในครรภ์ รวมทั้งคำนึงถึงความปลอดภัยของหญิงมีครรภ์ซึ่งมีความเสี่ยงได้รับอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายในการทำแท้งที่อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ 

นอกจากนี้การกำหนดให้การกระทำดังกล่าวยังมีความผิดต่อไป เพื่อเป็นการป้องปรามมิให้มีการกระทำแท้งโดยเสรีไร้ขอบเขต อันจะเป็นการกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและศีลธรรมอันดีของสังคมอย่างร้ายแรง “สิ่งที่เป็นประเด็นที่เครือข่ายภาคประชาสังคมจำนวนมากถึง 62 องค์กรไม่เห็นด้วยเรื่องนี้ ก็เป็นเรื่องการที่เห็นว่าการยุติการตั้งครรภ์ต้องไม่มีความผิด ต้องเป็นสิทธิที่พึงมีที่จะรับจากระบบการบริการสุขภาพ ซึ่งไม่ควรกำหนดอายุครรภ์ ที่เป็นการกำหนดจากผู้ที่ไม่เห็นด้วย ทั้งยังไม่ได้ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ ไม่มีประสบการณ์จริงในการให้บริการกรณีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ 

บันทึกความจริงเรื่องความปลอดภัยของการยุติการตั้งครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ตอนที่ 1
เรื่องโดย นพ.เรืองกิตติ์ ศิริกาญจนกูล ผู้ประสานงานเครือข่ายอาสา RSA

บันทึกความจริงเรื่องความปลอดภัยของการยุติการตั้งครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ตอนที่ 2 https://rsathai.org/contents/17445

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 5 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 4

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้