กระบวนการดูแลการยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม Comprehensive Safe Abortion Care: CAC
ประกอบด้วย 9 ขั้นตอนตามลำดับ คือ

ช่วงก่อนการยุติการตั้งครรภ์: ประเมินและการปรึกษาให้ข้อมูล
1. ให้การปรึกษาทางเลือก ผู้หญิงมีอิสระที่จะตัดสินใจเลือกตั้งครรภ์ต่อหรือไม่ ได้ด้วยตนเอง
2. การประเมินข้อบ่งชี้ การยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย
3. การปรึกษาก่อนการยุติการตั้งครรภ์
4. การซักประวัติและตรวจร่างกาย

 ช่วงรักษาหรือยุติการตั้งครรภ์
5. การยุติการตั้งครรภ์ด้วยวิธีหัตถการกระบอกดูดสุญญากาศ (MVA) หรือด้วยยายุติการตั้งครรภ์

ช่วงหลังยุติการตั้งครรภ์
6. การปรึกษาหลังการยุติการตั้งครรภ์
7. การติดตามหลังให้บริการ
8. การดูแลภาวะแทรกซ้อน
9. การคุมกำเนิด

ในการบริการ ผู้ให้บริการควรตระหนักเรื่องความรู้สึกที่อ่อนไหวและสิทธิของผู้รับบริการ ควรจะต้อง

  • เคารพสิทธิในการให้คนไข้ตัดสินใจ ไม่บีบบังคับ ให้ความเป็นส่วนตัว การเก็บรักษาความลับ
  • เคารพให้เกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ไม่ตีตรา ไม่ตัดสินคุณค่า ให้ความเห็นอกเห็นใจ มีท่าทีที่อบอุ่น
  • เคารพต่อสิทธิในการรับรู้ข้อมูลที่ครบถ้วนของผู้รับบริการเพื่อการตัดสินใจได้อย่างอิสระ ข้อมูลที่ควรให้มี ทางเลือก และวิธีการยุติการตั้งครรภ์ ความสำเร็จ และความเสี่ยง ผลข้างเคียงของยา อาการแทรกซ้อน ผลที่ตามมาหลังยุติการตั้งครรภ์ แล้วเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย

คลินิกหรือโรงพยาบาลสามารถจัดบริการยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวมได้โดย
1. มีช่องทางเข้าถึงผู้ประสบปัญหาและสื่อสารการบริการที่เหมาะสม
2. จัดให้ผู้รับบริการที่ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์เข้าสู่บริการได้โดยเร็ว
3. พัฒนาระบบบริการไม่ให้เกิดความล่าช้า
4. ผู้ให้บริการมีความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่อง

  • ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ข้อกฎหมายและข้อบังคับแพทยสภา
  • อายุครรภ์ที่ทำได้ เครือข่ายส่งต่อการให้บริการกรณีเกินขอบเขตที่ให้บริการได้

5. ผู้ให้บริการมีทัศนะเข้าใจเรื่องท้องไม่พร้อม ได้รับการฝึกอบรมเพียงพอเพื่อให้บริการยุติการตั้งครรภ์ได้มาตรฐาน
6. มีการบริหารจัดการยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการบริการ
7. มีระบบส่งต่อที่ชัดเจนและมีคุณภาพ เพื่อส่งต่อบริการและติดตามผลการรักษาได้อย่างต่อเนื่องประเทศไทย

อุปสรรคหลักที่ขวางกั้นการเกิดระบบบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยก็คือ กฎหมายที่คนส่วนใหญ่และผู้ให้บริการคิดว่าการยุติการตั้งครรภ์น่าจะผิดกฎหมายและไม่ชัดเจนต้องตีความ และทัศนคติเรื่องทำแล้ว รู้สึกผิด บาป มีมุมมองอคติ ตีตรา เป็นเรื่องที่ท้าทาย และเป็นช่องว่าง ทำให้ผู้หญิงไม่กล้ามาโรงพยาบาล แต่หันไปหาช่องทางอื่นที่ไม่ถูกต้อง ขณะนี้กำลังมีกระบวนการแก้ไขกฎหมายการยุติการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเครือข่ายประชาสังคม เพื่อให้เอื้อต่อความปลอดภัยของผู้หญิง ผู้ให้บริการ เรื่องทัศนคติก็ควรปรับเปลี่ยนเป็นคนดี มองในแง่ดี ก่อให้เกิดการทำความดี ไม่มองแต่แง่ร้าย มองว่าเป็นหน้าที่ในการบริการสุขภาพที่จะช่วยไม่ให้ผู้หญิงเกิดโรคแทรกซ้อนจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย

ท่านพุทธทาสได้ให้ธรรมะสอนไว้ดังนี้

ความมีน้ำใจและไม่นิ่งดูดาย
อยากทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น
ไม่ว่าคนใกล้ชิดหรือเพื่อส่วนรวม
ด้วยความเสียสละ และมีน้ำใจ
นี่แหละ คือ คุณสมบัติเบื้องต้นของคนดี

เรื่องโดย นพ.เรืองกิตติ์ ศิริกาญจนกูล

การยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม ดีกว่า ปลอดภัยกว่า ตอนที่ 1
การยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม ดีกว่า ปลอดภัยกว่า ตอนที่ 2
การยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม ดีกว่า ปลอดภัยกว่า ตอนที่ 3

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 4.2 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 16

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้