ที่มา : อ.พญ.นันทา อ่วมกุล ที่ปรึกษาสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์

การแก้กม. ไม่ใช่ให้มีการแท้งเสรี แต่เพื่อให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและปลอดภัยค่ะ การทำงานเชิงรุกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมต้องทำควบคู่กันไป ลดการทำแท้งเถื่อนและแสวงหาวิธีการสิ้นสุดการตั้งครรภ์เองแบบผิดๆ ทีอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ ถ้าเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพจะได้รับการ counseling การคุมกำเนิด ป้องการตั้งครรภ์ซ้ำโดยที่ไม่ต้องการ

สถานบริการสามารถส่งต่อได้ตามเงื่อนไขค่ะ ปัจจุบันมี เครือข่ายอาสา RSA Referral System for Safe Abortion สายด่วน 1663 มีการฝึกอบรมแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่เพื่อให้บริการ Safe Abortion

ถาม: มีโรงพยาบาลและแพทย์ที่รองรับบริการของ 1663 ใช่ไหมครับ

ตอบ: โรงพยาบาลและคลินิกมีประมาณ 80 กว่าแห่งค่ะ แพทย์อาสามีประมาณ 150 คน ค่ะ การสิ้นสุดการตั้งครรภ์และคุมกำเนิดด้วยวิธีกึ่งถาวร (ยาฝังคุมกำเนิดและห่วงอนามัย) หากเป็นไปตามระเบียบ สามารถเบิก สปสช. ได้ค่ะ ยาสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ถ้าหน่วยบริการขึ้นทะเบียนกับกรมอนามัย และ สปสช. แล้วสามารถเบิกยาได้ฟรีค่ะ

การให้บริการต้องทำตามที่แพทยสภากำหนด และต้องส่งแบบฟอร์มรายงานการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ไปที่แพทยสภาภายใน 30 วัน นับจากวันที่ยุติการตั้งครรภ์ค่ะ

กรมอนามัยได้จัดทำคู่มือ มาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยแบบองค์รวม (เล่มที่ถ่ายบางหน้าส่งในไลน์กลุ่ม)
ขอเชิญชวนให้ทุกโรงพยาบาลดำเนินงานตามมาตรฐานบริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนด้วยค่ะ เพื่อให้วัยรุ่นและเยาวชนเข้าถึงบริการทั้งเชิงรุกและเชิงรับ บูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและรักษาพยาบาลร่วมกับภาคีเครือข่ายนอกโรงพยาบาลด้วย

ปัจจุบันวัยรุ่นสามารถรับบริการฝังยาคุมกำเนิดได้ฟรี ทั้งหลังแท้งอหลังคลอด และยังไม่ตั้งครรภ์ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้วัยรุ่นที่เสี่ยงตั้งครรภ์ฝังยาคุมกำเนิดได้ แม้ยังไม่เคยตั้งครรภ์ หากถอดยาฝังแล้วสามารถมีลูกได้

คู่มือ : มาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยแบบองค์รวม (Standard of Practice for Comprehensive Safe Abortion Care)

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 5 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 5

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้