สถานการณ์ท้องไม่พร้อม

การท้องไม่พร้อม หรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อม เป็นคําที่ใช้ในภาษาไทยอย่างกว้างขวาง อันเป็นผลมาจากการศึกษาวิจัยในประเทศไทยที่พบว่า ผู้หญิงที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้มักให้เหตุผลถึงความไม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ต่อไป สําหรับในต่างประเทศ มีศัพท์ที่ใช้ในความหมายใกล้เคียงกัน ได้แก่ Unwanted Pregnancy (การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์) หรือ Unplanned Pregnancy (การตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผน) หรือ Unintended Pregnancy (การตั้งครรภ์ที่ไม่ตั้งใจ) ซึ่งทั้งหมดให้ความหมายว่า การตั้งครรภ์ของผู้หญิงนั้นอยู่ภายใต้ความไม่พร้อม

ท้ังนี้ ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าในโลกนี้มีผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมจํานวนเท่าไร ซึ่งการตัดสินใจของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม มีทั้งท้องต่อ และยุติการตั้งครรภ์ โดยในประเทศไทย ข้อมูลจากศูนย์พึ่งได้ที่มีบริการปรึกษาทางเลือกท้องไม่พร้อม และสายปรึกษาเรื่องเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663 พบว่า ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมส่วนใหญ่ หรือราวร้อยละ 70-90 เลือกยุติการตั้งครรภ์

ปัจจุบัน นานาชาติหันมาให้ความสำคัญของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมากขึ้น เนื่องจากพบว่า ประเทศจํานวนมาก รวมทั้งประเทศไทย มีอัตราการคลอดของวัยรุ่นที่อายุต่ำกว่า 20 ปีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลในปีที่ใกล้เคียงกันและนํามาจัดลําดับ จากการรวบรวมของสํานักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

พบว่า ประเทศที่มีอัตราการคลอดของวัยรุ่นมากที่สุดคือ สาธารณรัฐอาฟริกากลางในอัตรา 229 ต่อ 1,000 ส่วนประเทศที่น้อยที่สุดคือประเทศสิงคโปร์อัตรา 3.6 ต่อ 1,000 โดยประเทศที่มีอัตราการคลอดของวัยรุ่นสูง ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปอาฟริกา รองลงมาคือประเทศในอเมริกาใต้ และบางประเทศในเอเชียใต้

สําหรับประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยมีอัตราการคลอดของวัยรุ่น 46.7 ต่อ1,000 ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก คือ อยู่ที่อันดับ 107 ของโลก อันดับที่ 15 ของเอเชีย และอันดับที่ 6 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การตีความว่าการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาในระดับใดขึ้นอยู่กับบริบทของประเทศนั้นๆ โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี  คุณภาพของชีวิต และสวัสดิการสังคม รวมทั้งความคาดหวังของสังคมต่อวัยรุ่น และอื่นๆ อีกหลายประการ 

หน่วยงานในด้านสุขภาพระดับสากล คือ องค์การอนามัยโลกให้ความสนใจไปที่ผลพวงจากการยุติการตั้งครรภ์ ไม่ปลอดภัยที่ทําให้ผู้หญิงต้องติดเชื้อและเสียชีวิต รายงานล่าสุดขององค์การอนามัยโลกในปี 2555 ระบุว่า มีการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นกับผู้หญิง 22 ล้านคน ส่งผลให้เกิดการตายของผู้หญิงราว 47,000 คน และการพิการถึง 5 ล้านคนต่อปี ทั้งนี้ พบว่ากว่าครึ่งของการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย หรือราว 10.5 ล้านคนเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชีย และประมาณหนึ่งในสามเกิดขึ้นในเอเซียใต้ โดยในระหว่างปี พ.ศ.2546 – 2551 ปัญหาการยตุิการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยยังไม่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นโดยยังอยู่ที่อัตรา 14 ต่อ 1,000 คน

แหล่งอ้างอิง :
1. สํานักอนามัยการเจริญพันธ์ุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสขุ.(2557).“การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น : นโยบายแนวทางการดำเนินงาน และติดตามประเมินผล”.
2. WHO. (2012). Safe abortion: technical and policy guidance for health systems, second edition.
3. Asia Safe Abortion Partnership เข้าถึงได้จาก http://www.asap-asia.org

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 4.5 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 4

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้