การยุติการตั้งครรภ์ในกรณีจำเป็นหรือกรณีที่มีผลต่อสุขภาพแม้จะมีกฎหมายรองรับ หรือกรณีที่มีผลต่อสุขภาพ แม้จะมีกฎหมายรองรับ 
แต่ในทางปฏิบัติ ก็ยังมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อย ถูกปฏิเสธการยุติการตั้งครรภ์ อย่างปลอดภัย

“บาปหรือไม่ หากเป็นผู้ยุติการตั้งครรภ์ให้กับผู้หญิงเคยท้องไม่พร้อม” เป็นสิ่งที่นายแพทย์ นิธิวัชร์ แสงเรือง
เครือข่ายแพทย์อาสา RSA เคยตั้งคำถาม กับตัวเองไม่ต่างจากคนอื่นๆ

จากประสบการณ์ทำงานพบเห็นภาพของผู้หญิงที่เข้ามารับการรักษาด้วยผลข้างเคียง
ด้วยการทำแท้งเถื่อน บางคนถึงขั้นพิการ หรือเสียชีวิต จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเครือข่ายอาสา
RSA โดยกรมอนามัย ยุติการตั้งครรภ์ให้กับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมตามกฎหมาย

“เราไม่ได้มีหน้าที่เป็นผู้ตัดสิน เป็นศาล เป็นตำรวจ หรือเป็นครูที่คอยสั่งสอน
หมอจะถูกสั่งสอนให้ inform และ consent” 
นายแพทย์ นิธิวัชร์ แสงเรือง ผู้ประสานงานเครือข่ายRSA กล่าว

และให้ข้อมูลแนวทางการช่วยเหลือผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม
 โดยเริ่มด้วยการให้การปรึกษาทางเลือกอย่างรอบด้านในทุกทางเลือก เมื่อให้ทางเลือกแล้ว 
หากผู้หญิงตัดสินใจและยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ แพทย์ก็จะให้การช่วยเหลือด้วยวิธีการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยที่ปลอดภัย โดยสอดคล้องกับข้อบังคับทางกฎหมาย และกฏจริยธรรมวิชาชีพ

อีกทั้ง นายแพทย์ นิธิวัชร์ แสงเรือง ผู้ประสานงานเครือข่ายRSA (Referral system for Safe abortion) ได้แสดงทัศนะคติเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา แรงกฏดันทางสังคม และกฎหมายที่กำหนดไว้อย่างกว้างๆ ซึ่งเป็นเหตุให้แพทย์บางคนปฎิเสธการยุติการตั้งครรภ์ ทำให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม เข้าถึงบริการที่ไม่ปลอดภัย

โดยยกตัวอย่างในประเด็นสุขภาพที่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ มีอะไรบ้าง
แค่ไหนคือจำเป็น? ที่แพทย์สามารถให้การช่วยเหลือผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมได้

และแสดงข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า
กฎหมายที่กำหนดไว้อย่างกว้างๆ นั้น … หากมองในแง่ดี คือ แพทย์เป็นวิชาชีพเดียวที่กฎหมายเปิดให้สามารถยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยให้กับผู้หญิงได้ โดยสามารถใช้วิจารณญาน แต่ข้อเสีย คือ แพทย์ส่วนหนึ่งไม่กล้าที่จะให้บริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย

#พลิกปมข่าว #thaipbs
วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2561

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 5 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 1

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้