6 บทบาทหน้าที่ของกรมอนามัยต่อการบริหารจัดการยาเพื่อยุติการตั้งครรภ์ (มิฟิพริสโตน และไมโซโพรสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน)

0
หลังจากยามิฟิพริสโตน และไมโซโพรสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน ได้รับการขึ้นทะเบียนในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ขอให้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข บริหารจัดการยามิฟิพริสโตน และไมโซโพรสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการและวางแผนดูแลกำกับการใช้ยาอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 2 ปี โดยทำหน้าที่ต่อไปนี้คือ ประสานงานกับสถานพยาบาลทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข เพื่อประเมินความพร้อมในการให้บริการ และการอนุญาตให้จัดให้มี ยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอลในการบริการยุติการตั้งครรภ์ จัดทำคู่มือการใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอล และจัดส่งคู่มือไปยังสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่มียาให้บริการ รวบรวมรายงานยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอลที่นำเข้าโดย บริษัทผู้นำเข้ายาและจัดจำหน่าย รวบรวมและวิเคราะห์การให้ยาและการยุติการตั้งครรภ์จากรายงานของสถานพยาบาลต่างๆ เฝ้าระวังและติดตามผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ...

ข้อกฎหมายการยุติการตั้งครรภ์

0
ประเทศที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมของโลกเกือบทั้งหมดกําหนดให้การทำแท้งนั้นสามารถทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย (พ.ศ.2493 - 2528) ต่อมาในปี 2537 นานาประเทศได้ประชุมร่วมกันและมี 179 ประเทศได้ร่วมลงนามใน International Conference on Population and Development Programme of Action ซึ่งมีประเด็นที่สื่อให้เห็นถึงความร่วมมือในการป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัยประเทศต่างๆ กว่า 30 ประเทศก็ค่อยๆ ปรับแก้กฎหมายทำแท้งให้ถูกต้องตามกฎหมาย องค์การอนามัยโลกได้มีข้อเสนอแนะต่อนานาประเทศให้ออกกฎหมายและนโยบายที่ปกป้องสุขภาพและสิทธิของ ผู้หญิงเป็นสำคัญ...

สาเหตุของการท้องไม่พร้อมในประเทศไทย

0
จากการรวบรวมงานศึกษาวิจัยต่างๆ รวมทั้งข้อมูลจากการให้บริการปรึกษาทางเลือก พบว่า สาเหตุที่ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมมาจากปัจจัยต่างๆ โดยประมวลตามปัจจัยได้ ดังต่อไปนี้ สาเหตุจากที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ ไม่ใช้วิธีการใดๆ ในการคุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ จากประสบการณ์ของสมาชิกเครือข่ายฯ ในการให้การปรึกษาทั้งตั้งต่อตัวและทางโทรศัพท์ พบว่าผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมกว่าร้อยละ 50 ตั้งครรภ์เพราะไม่ได้คุมกำเนิด ใช้วิธีการคุมกำเนิดไม่ถูกต้อง เช่น ลืมกินยา กินยาไม่ตรงเวลา ถุงยางอนามัยแตกระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ไม่ไปฉีดยาตรงตามกำหนดนัด เป็นต้น ใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การนับระยะปลอดภัย การหลั่งภายนอก หรือ การใช้ยาคุมฉุกเฉินเป็นวิธีการคุมกำเนิดหลักแทนที่จะใช้เมื่อฉุกเฉินเท่านั้น สาเหตุที่ทำให้การตั้งครรภ์นั้นไม่พร้อม เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ความไม่พร้อมอาจจะมาจากเหตุในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ ด้านสุขภาพผู้หญิง ...

นโยบายกระทรวงสาธารณสุขกับการป้องกันและแก้ไขท้องไม่พร้อม และการยุติตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย

0
นโยบายกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น และสตรีวัยเจริญพันธุ์และการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยในประเทศไทย ด้วยปัจจุบันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นและสตรีวัยเจริญพันธุ์ในประเทศไทย นับวันจะทวีความรุนแรงสิ่งที่นำไปสู่ปัญหาสังคมและเป็นสาเหตุหลักของการป่วยและตายจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อปัญหานี้ โดยจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ ดังต่อไปนี้ ส่งเสริมค่านิยมทางวัฒนธรรม สังคม ทัศนคติ และบทบาททางเพศที่เหมาะสมของวัยรุ่นและประชากรวัยเจริญพันธุ์ ให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีแก่สังคมทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันให้ความช่วยเหลือสตรีที่ตั้งครรภ์ ไม่พร้อมทุกกลุ่มอายุ รวมทั้งวัยรุ่นและเยาวชน จัดให้มีระบบบริการสุขภาพทางเพศ อนามัยการเจริญพันธุ์ วางแผนครอบครัว และการคุมกำเนิดที่เหมาะสม มีคุณภาพ เป็นมิตรและเข้าถึงได้ง่ายแก่วัยรุ่นและสตรีวัยเจริญพันธุ์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีแก่ผู้ให้บริการสุขภาพ พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน...

16 ตัวอย่าง ท้องไม่พร้อมที่ยุติการตั้งครรภ์ได้ตามกฎหมาย 

0
เมื่อทางเลือกคือยุติการตั้งครรภ์ "การทำแท้ง” หรือ “ยุติการตั้งครรภ์” ผิดกฎหมายหรือไม่? เป็นความเข้าใจที่ “ผิด” ว่าการทำแท้งผิดกฎหมายทุกกรณี เพราะประเทศต่างๆ ในโลกนี้ ได้ให้การยุติการตั้งครรภ์ เป็นทางเลือกที่ผู้หญิงท้องไม่พร้อม โดยมีข้อกฎหมายในแต่ละประเทศแตกต่างกัน ประเทศไทย การยุติการตั้งครรภ์ สามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายในกรณีต่อไปนี้ การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางกายของผู้หญิง การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิง ตัวอ่อนในครรภ์มีความพิการรุนแรง การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา การตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุไม่เกิน 15  ปี การตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจาร...

ความก้าวหน้าของการยุติตั้งครรภ์ด้วยยา

0
ความก้าวหน้าของการยุติตั้งครรภ์ด้วยยา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2557 กระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็นความสําคัญของเทคโนโลยีการยุติตั้งครรภ์ด้วยยา จึงได้ขอขึ้นทะเบียนยา Mifepristone (RU486) และ Misoprostol (ไซโตเทค) ที่บรรจุในแผงเดียวกัน กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อใช้ยุติการตั้งครรภ์ ต่อมาในวันที่ 13 มิถุนายน 2559 คณะอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติพิจารณาคัดเลือกยาทั้งสองชนิดบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในบัญชีย่อย จ(1) โดยภายใต้บัญชีย่อยนี้ต้องมีการจัดทําโครงการพิเศษภายใต้หน่วยงานภาครัฐ ซึ่งสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์...

สิทธิในการเลือกคือ“สิทธิของผู้ป่วย”

0
สิทธิในการเลือกคือ “สิทธิของผู้ป่วย” ตามคำประกาศสิทธิผู้ป่วย 9 ข้อ มีข้อที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในทางเลือกเมื่อท้องไม่พร้อมอยู่ 2 ข้อ ได้แก่ ข้อ 1 ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการรักษาพยาบาลและการดูแลด้านสุขภาพตามมาตรฐานวิชาชีพจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ สิทธิข้อนี้รวมถึงบริการปรึกษาทางเลือก และบริการที่สอดคล้องกับทางเลือกกรณีที่ท้องไม่พร้อม แม้ว่าในปัจจุบันสถานบริการด้านสาธารณสุขจำนวนมาก จะยังไม่มีความพร้อมที่จะให้บริการในทุกด้านโดยเฉพาะบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (ทำแท้งถูกกฎหมาย) แต่เราควรตระหนักว่านี่คือ สิทธิอันชอบธรรมโดยพื้นฐานที่เราควรจะได้รับบริการเหล่านี้ และหากสถานบริการสาธารณสุขนั้นๆ ไม่พร้อมที่จะให้บริการเราควรมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลและการส่งต่อไปยังสถานบริการสาธารณสุขที่มีความพร้อม แม้ว่าผู้ให้บริการสาธารณสุขแต่ละคนอาจจะมีทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมแตกต่างกัน แต่ผู้ให้บริการมีหน้าที่ให้บริการแก่ผู้ประสบปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่มาขอรับบริการ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติงานบนฐานทัศนคติส่วนบุคคลของตนเอง และควรมองเห็นว่าผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมมาขอรับบริการ คือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ และสมควรได้รับการช่วยเหลือ เช่นเดียวกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ อย่างเสมอภาคเท่าเทียม ข้อ...

การดูแลสุขภาพกายและจิตของผู้ให้การปรึกษา

0
การดูแลสุขภาพกายและจิตของผู้ให้การปรึกษากระบวนการให้การปรึกษาหญิงที่ตั้งท้องไม่พร้อมเพื่อช่วยฟื้นฟูอำนาจภายในและแก้ปัญหานั้น ต้องใช้พลัง ทักษะ และในบางกรณีอาจใช้ระยะเวลานาน การทำงานร่วมกันระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการปรึกษาด้วยการเปิดใจรับความรู้สึก และแบกความทุกข์ของเขา บางครั้งส่งผลให้ผู้ให้การปรึกษารู้สึกหนักอึ้งและหากไม่ปล่อยวางก็แบกทุกข์ของเขาไว้ แม้จะจบการให้การปรึกษาไปแล้ว ดังนั้น การดูแลตนเองของผู้ให้การปรึกษาไม่ให้จมอยู่กับความทุกข์หรือแบกปัญหาของเขามาเป็นปัญหาของเราจึงเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น การดูแลตนเองของผู้ให้การปรึกษาเพื่อไม่ให้หมดไฟและเครียด อาจทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการดูแลตัวเองด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น การฝึกโยคะ ซึ่งถือเป็นการภาวนา ฝึกพัฒนาจิตให้หลุดพ้นโดยหาวิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง ดังนั้น การทำสมาธิจึงไม่ใช่การไปวัด นั่งสมาธิหรือเดิมจงกรมเท่านั้น แต่กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเราสามารถนำมาใช้เป็นการภาวนาได้ เช่น การปักผ้า...

ใช้ยายุติการตั้งครรภ์ ยาทำแท้ง ให้ปลอดภัยได้อย่างไร?

0
ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม มักไม่สามารถบอกหรือปรึกษาใครได้ เมื่อหาทางออกไม่ได้  มักจะคิดถึงการยุติตั้งครรภ์ไว้ก่อน หลังจากนั้นก็จะหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และถูกชักนำไปให้ซื้อยาทำแท้งทางไปรษณีย์ โดยไม่อาจรู้ได้ว่า ยาที่จะได้รับนั้นเป็นยาจริงหรือยาปลอม ขนาดยาเหมาะสม และวิธีการใช้ถูกต้องตามอายุครรภ์หรือไม่ เพียงหวังให้ผู้หญิงและทุกๆ คน มีข้อมูล มีความเข้าใจที่รอบด้านเกี่ยวกับยาทำแท้ง เพื่อเตือนให้ฉุกคิดถึงอันตรายจากการใช้ยาทำแท้งไม่ถูกต้อง เข้าใจอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น และแนวทางปฎิบัติหากพบอาการที่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยไม่รอช้า เพื่อป้องกันการติดเชื้อและรักษาชีวิตอันมีค่าของตัวเองไว้ ไม่ได้ต้องการให้เป็นคำแนะนำสำหรับการหาซื้อยายุติการตั้งครรภ์มาใช้เอง เนื่องจากการดูแลรักษาผู้ที่ท้องไม่พร้อมและต้องการยุติการตั้งครรภ์ ยังมีองค์ประกอบอย่างอื่นที่สำคัญอีกมาก เช่น การให้การปรึกษา การให้กำลังใจ หรือ...

ทัศนคติและแนวคิดของคนในสังคมต่อเรื่องการยุติการตั้งครรภ์หรือการทำแท้ง

0
ทัศนคติและแนวคิดของคนในสังคมต่อเรื่องการยุติการตั้งครรภ์หรือการทำแท้ง เราอาจแบ่งแนวคิดในเรื่องดังกล่าวออกเป็น 2 ด้านที่แตกต่างกัน คือ แนวคิดสนับสนุนชีวิต (Pro-life) หรือแนวคิดต่อต้านการทำแท้ง (Anti-abortion) กับแนวคิดสนับสนุนทางเลือก (Pro-choice) หรือแนวคิดสิทธิในการทำแท้ง (Abortion right) แนวคิดสนับสนุนชีวิต (Pro-life) เป็นแนวคิดที่ไม่เห็นด้วยกับการทำแท้ง และอาจรวมถึงการสนับสนุนให้รัฐออกกฎหมายห้ามการทำแท้ง โดยให้เหตุผลว่าชีวิตมนุษย์เริ่มต้นตั้งแต่การปฏิสนธิ และตัวอ่อนในครรภ์ถือได้ว่ามีสถานะเทียบเท่าบุคคล จึงมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ซึ่งใครจะละเมิดมิได้ และผู้สนับสนุนแนวคิดนี้จำนวนไม่น้อย มองว่าการทำแท้งขัดต่อหลักความเชื่อทางศาสนาและถือเป็นบาปร้ายแรง แนวคิดสนับสนุนทางเลือก (Pro-choice) เห็นว่าผู้หญิงควรมีสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย