จับแล้ว! หลอกขายยาทำแท้ง 943 เม็ด หากินบนความเจ็บปวดผู้หญิง
การเลือกตัดสินใจซื้อยาทำแท้งออนไลน์ ยังคงมีความเสี่ยง เพราะยังมีคนฉวยโอกาส บ้างไม่ได้รับยา และหากได้รับยา เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ยาที่จะได้รับนั้นเป็นยาจริงหรือปลอม ขนาดของยา และวิธีการใช้ถูกต้องเหมาะสมตามอายุครรภ์หรือไม่ ยุติการตั้งครรภ์ หรือทำแท้ง เป็นหนึ่งในทางเลือกเมื่อท้องไม่พร้อม หากพิจารณา ทบทวนอย่างรอบคอบแล้วว่าตัวเอง ยังไม่มีความพร้อมที่จะท้องต่อไป และเลี้ยงดูเด็กในระยะยาวได้อย่างมีคุณภาพ จำเป็นต้องยุติการตั้งท้อง เพื่อให้ปลอดภัยกับผู้หญิงมากที่สุด ควรเข้าสู่บริการโดยเร็วที่สุด ในอายุครรภ์ที่น้อยกว่า 12 สัปดาห์ หรือ 3...
การทำแท้งเป็นสิทธิของหญิง แล้วหมอมีหน้าที่ต้องทำแท้งให้หรือไม่?
วันนี้ จะเป็นวันสำคัญ!! ในวงการสิทธิมนุษยชนของไทย เพราะเป็นวันที่กฎหมายอาญา ม.301 และ 305 (ที่แก้ไขใหม่) มีผลบังคับใช้.....การทำแท้งเป็นสิทธิของหญิง แล้วหมอมีหน้าที่ต้องทำแท้งให้หรือไม่?7 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นวันสำคัญในวงการสิทธิมนุษยชนของไทยเพราะเป็นวันที่กฎหมายอาญา ม.301 และ 305 ที่แก้ไขใหม่มีผลบังคับใช้ ส่งผลให้ผู้หญิงสามารถทำแท้งได้ตามใจสมัครถึงอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ โดยแยกเป็น 12 สัปดาห์แรกทำได้เอง ส่วน...
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยความผิดฐานทำแท้งผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาแล้วเมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา…แล้วยังไงต่อ?
อาจารย์รณกรณ์ บุญมี จากคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ อธิบายดังนี้ขั้นต่อไปก็คือการทูลเกล้า และหลังจากที่ทรงลงพระปรมาภิไธยกฎหมายฉบับนี้ก็จะไปแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา 2 มาตรา คือ มาตรา 301 และ 305 โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ 1.1 ตัวหญิงเจ้าของครรภ์ก) หญิงทำเอง = หญิงไม่ผิด ข)...
แถลงการณ์ข้อเท็จจริงเรื่องการทำแท้งในประเทศไทย จากเครือข่ายอาสา RSA(1) วันที่ 3 มกราคม 2564
เครือข่ายอาสา RSA เราคือแพทย์ 157 คนและสหวิชาชีพ 614 คนจาก 70 จังหวัด ที่ปฏิบัติงานในภาครัฐและเอกชน ที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวมตามหลักวิชาการ ได้รับการแต่งตั้งและสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ปี 2557 ทำหน้าที่อาสารับส่งต่อวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมจากสายด่วน1663 และหน่วยงานให้บริการปรึกษาท้องไม่พร้อม เพื่อให้ได้รับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย เครือข่ายอาสา RSA สนับสนุนการพัฒนากฎหมายอาญามาตรา 301 และ 305 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและเทคโนโลยีทางการแพทย์ รวมทั้งคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่...
มุมมองของนักวิชาการต่อการเสนอให้แก้ไขกฎหมายทำแท้ง
https://www.youtube.com/watch?v=achuXeEFiIk
โครงการเครือข่ายบริการทางเลือกสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม จัดการเสวนาเชิงนโนบาย ผ่าทางตันกฎหมายทำแท้งไทย "ทำแท้งมิใช่ความอาญา แต่คือบริการสุขภาพ !! " เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข
เพื่อสร้างความเข้าใจต่อกฎหมายอาญาที่เกี่ยวช้องกับการยุติการตั้งครรภ์ วิเคราะห์สถานการณ์และประเด็นต่างๆ จากกรณีศึกษา และแลกเปลี่ยนทัศนะในเรื่องกฎหมายและการยุติการตั้งครรภ์ ประชาสัมพันธ์ความร่วมมือของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แพทยสภา และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ในช่วงที่ผ่านมา พบว่าอุปสรรคด้านหนึ่งของการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย...
5 ข้อเรียกร้อง เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ในช่วงโควิด-19
วันนี้ ศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2563 เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม (ไทยและต่างประเทศ) 55 องค์กร และผู้ร่วมลงช่ือสนับสนุนในเว็บไซต์ Change.org และลงช่ือกับกลุ่มทำทางรวม 569 รายช่ือ ยื่นหนังสือข้อเรียกร้อง ต่อกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ขอให้พิจารณาออกมาตรการเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการให้บริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ซึ่งเป็นบริการสุขภาพที่มีความสำคัญ และจำเป็นบริการหนึ่งซึ่งไม่สามารถจะหยุดดำเนินการ หรือชะลอการดำเนินการได้ โดยสถานบริการสุขภาพ...
มิติ 3 ด้านที่น่ากลัว เศรษฐกิจ ท้องไม่พร้อม คุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจ : ข้อมูลล่าสุด!! จากข้อมูลสรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร (เดือน มีนาคม พ.ศ. 2563) โดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่า จากการรวบรวมข้อมูล 1-12 มีนาคม พ.ศ. 2563 ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 56.77 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานมีจำนวนทั้งสิ้น 38.21...
ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เก่ียวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์
https://www.youtube.com/watch?v=IElZPnac2vo&feature=youtu.be
โครงการเครือข่ายบริการทางเลือกสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม จัดการเสวนาเชิงนโนบาย ผ่าทางตันกฎหมายทำแท้งไทย "ทำแท้งมิใช่ความอาญา แต่คือบริการสุขภาพ !! " เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข
เพื่อสร้างความเข้าใจต่อกฎหมายอาญาที่เกี่ยวช้องกับการยุติการตั้งครรภ์ วิเคราะห์สถานการณ์และประเด็นต่างๆ จากกรณีศึกษา และแลกเปลี่ยนทัศนะในเรื่องกฎหมายและการยุติการตั้งครรภ์ ประชาสัมพันธ์ความร่วมมือของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แพทยสภา และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ในช่วงที่ผ่านมา พบว่าอุปสรรคด้านหนึ่งของการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย คือ ข้อกฎหมายที่ยังไม่มีความชัดเจน...
ต้องรู้ !! การทำแท้งในประเทศไทยไม่ได้ผิดกฎหมายทั้งหมด
การทำแท้งในประเทศไทยไม่ได้ผิดกฎหมายทั้งหมด กฎหมายอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถตัดสินใจทำแท้งได้โดยแพทย์ โดยมีข้อบ่งชี้เหตุผลทางการแพทย์เพื่อสุขภาพและชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งการตั้งครรภ์ที่เกิดจากความผิดทางเพศ ดังต่อไปนี้
1. การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อชีวิตหรือสุขภาพทางกายของผู้หญิง
2. การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา
3. การตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าหญิงนั้นจะสมยอมหรือไม่ก็ตาม
4. การตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจาร สนองความใคร่
5. การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิง (เพิ่มเติมในข้อบังคับแพทยสภา พ.ศ. 2548 ขยายความ ”สุขภาพ” ให้ครอบคลุมทางกายและใจ แต่ยังไม่ถูกระบุไว้ในกฎหมาย)
6....
ข้อจำกัดของ “วงสาธารณะ” : การตัดสินเชิงศีลธรรมและการตีตราประณาม – ท้องไม่พร้อม
ปรากฏการณ์ท้องไม่พร้อมและการเลือกยุติการตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่คนเผชิญสถานการณ์หรือมีประสบการณ์มาก่อนเลือกที่จะไม่พูดถึง หรือเปิดเผยกับคนทั่วไป ทัศนัย ขันตยาภรณ์ กล่าวถึงแนวโน้มของคนที่จะไม่พูดถึงประสบการณ์นี้ว่า
"เรื่องนี้มันเป็นเรื่องไม่พูดกัน...ส่งผลทำให้คนมีโอกาสที่จะแสวงหาองค์ความรู้เรื่องนั้นน้อย เพราะฉะนั้น (คนที่ไม่เคยเชิญสถานการณ์) พูดบนข้อจำกัดของตัวเอง ในส่วนที่ตัวเองรับรู้มา..กรอบหนึ่งมันเป็นกรอบเรื่องของกฎหมาย อย่างที่ว่า ถ้าคนไม่รู้จริงเรื่องกฎหมาย ก็จะคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ผิดหมดเลยเรื่องแบบนี้…ผู้หญิงที่ประสบปัญหาตรงนี้เขาไม่ลุกมาพูด เพราะมันเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้ว จบก็ต้องการให้มันจบ จบแบบไม่มีใครรู้ด้วย.. เลยไม่ได้เกิดการพูดต่อเนื่องไป…ตัวของผู้ที่ประสมปัญหาเองก็ไม่ต้องการที่จะทำให้เป็นเรื่องสาธารณะด้วย ก็ไม่เปิดโอกาสให้คนอื่นเรียนรู้ชีวิตของคนที่ประสบมาด้วย จะต่างจากเอตส์ (ที่ผู้ติดเชื้อได้นำเสนอหรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้คนอื่นๆ ในสังคมได้รับรู้)" *(ทัศนัย ขันยาภรณ์ ,...