กระทรวงศึกษาธิการ ได้นำพ.ร.บ. ตั้งครรภ์วัยรุ่นสู่การปฏิบัติ อย่างไร ?

0
นำทีมโดย นายพีระ รัตนวิจิตร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หลังจากการบังคับใช้กฎหมายจาก พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อนำนโยบายสู่การปฏิบัติ เด็กในระบบการศึกษา มีส่วนเกี่ยวข้องครอบคลุมทุกระบบการศึกษา จากระบบข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า เด็กขาดการดูแลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปฐมวัย ในแต่ละปีมีเด็กเกิด 600,000 - 700,000 คน โดยเกิดจากแม่วัยใส 100,000 คน ซึ่งคุณแม่วัยใสขาดทั้งไอโอดีน ธาตุเหล็ก ส่งผลกระทบถึงเด็กปฐมวัย คิดว่า...

การแก้กฎหมายทำแท้งให้เป็นธรรมไปถึงไหน

0
เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมในฐานะตัวแทนของผู้หญิง และเครือข่ายอาสา RSA ในฐานะตัวแทนของผู้ให้บริการทางสุขภาพ เห็นว่ามาตรา 301 และ 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้นละเมิดต่อรัฐธรรมนูญ จึงได้ดำเนินการต่อไปนี้ 1) ใช้สิทธิตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ส่งเรื่องร้องเรียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2561 ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาดำเนินการส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ 2) สำนักผู้ตรวจการแผ่นดินมีจดหมายแจ้งกลับเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2561...

Live การรับคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญมีนัยทางกฎหมายอย่างไร? ผศ. ดร. รณกรณ์ บุญมี

0
https://www.youtube.com/watch?v=Ho0gMRa1QNg&feature=youtu.be การรับคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญมีนัยทางกฎหมายอย่างไร? ผศ. ดร. รณกรณ์ บุญมี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มา : https://youtu.be/Ho0gMRa1QNg แถลงข่าว "ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องพิจารณามาตรา 301 และ 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญาว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" จัดโดย เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม และ เครือข่ายอาสา RSA ร่วมกับ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 20...

Live แนวนโยบายของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขต่อการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์

0
https://youtu.be/kCeLUZWPjj0 นพ.บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยเล็งเห็นความสำคัญในการลดอันตรายของภาวะแทรกซ้อนจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย และการพัฒนาการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยาในประเทศไทยจึงพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้สามารถจัดบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในระบบบริการสุขภาพอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนผลักดันให้เกิดเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ทั้งนี้ มาตรา 305 กำหนดข้อยกเว้นให้แพทย์ทำการยุติการตั้งครรภ์ให้หญิงมีครรภ์ได้ 2 กรณี คือ 1. มีความจำเป็นเนื่องจากสุขภาพของหญิง หรือ 2. หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา เช่น กรณีผู้หญิงถูกล่วงละเมิดทางเพศ อย่างไรก็ตาม ความไม่พร้อมของผู้หญิงเกิดจากหลายปัจจัย  ซึ่งบางปัจจัยอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับกฎหมาย...

Live เปิดแถลงข่าว “ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องพิจารณามาตรา 301 และ 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญาว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”

0
https://youtu.be/i6CP7iKIS_U รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกผู้หญิงท้องไม่พร้อม กล่าวว่า ระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่ากฎหมายอาญา ม.301-305 ที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ ม. 301 ที่ระบุว่า หญิงใดทำให้ตนหรือยินยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องมีความผิดตามกฎหมาย   ซึ่งข้อเท็จจริงคือ การตั้งครรภ์ไม่ได้เกิดจากฝ่ายหญิงเท่านั้น กฎหมายนี้จึงจงใจละเลยการเอาผิดกับผู้ชายที่ทำให้ผู้หญิงท้อง ซึ่งขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่ระบุไว้ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลทั้งหญิงและชายต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน ...

ข้อเรียกร้องต่อการที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องต่อการแก้กฎหมายทำแท้ง

0
https://www.youtube.com/watch?v=ysQ65YuyVLQ&feature=youtu.be ระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม และเครือข่ายอาสา RSA มีข้อเสนอต่อผู้บังคับใช้กฎหมายและผู้เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 1. ขอให้ประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน รับรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า การตีความกฎหมายทำแท้งที่ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณานั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้หญิงและครอบครัว ตามสิทธิความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ 2. ขอให้บุคลากรสาธารณสุขทุกระดับ ตระหนักและไม่หวาดหวั่นต่อการช่วยเหลือผู้หญิงให้เข้าถึงการทำแท้งทางการแพทย์ที่ปลอดภัย รวมทั้งลดอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการดังกล่าว 3. ขอให้ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ตำรวจ อัยการ ทนายความ และศาล รับรู้และให้ความสำคัญต่อการรับคำร้องนี้ 4. ขอให้ตำรวจหยุดจับและดำเนินคดีกับการให้บริการทำแท้งที่ปลอดภัยโดยแพทย์ 5. ขอให้ตำรวจมุ่งเป้าหมายไปที่การกวาดล้างการทำแท้งเถื่อน...

แรงกระเพื่อมที่ทำให้ต้องแก้กฎหมายทำแท้ง ?

0
กฎหมายยังคงอยู่..ตราบเท่าที่กฎหมายนั้นส่งผลในทางบวกต่อผู้คนในสังคม แต่ถ้าเป็นไปในทางตรงกันข้าม ก็ควรมีการเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยมีแรงกระเพื่อมที่เสริมต่อการแก้ไขกฎหมายทำแท้งหลายประการ ประการแรก:ประเทศไทยมีความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ดีเลิศ มีเทคโนโลยียุติการตั้งครรภ์ด้วยยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติอย่างเท่าเทียมนานาอารยประเทศ แต่ผู้หญิงที่ประสบปัญหากลับต้องหาซื้อยาทำแท้งเถื่อนทางอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้ไทยต้องเผชิญกับปัญหาอัตราการตายของแม่จากการตั้งครรภ์ติดอันดับต้นๆ ของโลก สาเหตุหลักคือการตกเลือดและติดเชื้อในกระแสเลือด ประการที่สอง:มาตรา 301 ทำให้ผู้หญิงต้องแก้ไขปัญหาอย่างหลบๆซ่อนๆ ไม่กล้าเปิดเผยตนเองเพื่อขอเข้ารับการปรึกษาหรือบริการสุขภาพ เนื่องจากการตัดสินใจเลือกยุติการตั้งครรภ์มีนัยต่อการทำผิดต่อกฎหมายอาญาความผิดฐานทำให้แท้งลูก เสี่ยงต่อการถูกฟ้องดำเนินคดี ต้องหันไปใช้บริการที่ผิดกฎหมาย เช่น การรับบริการที่คลินิกเถื่อน การซื้อยาจากอินเทอร์เน็ต ประการที่สาม:แพทย์ผู้ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ถูกรีดไถเงิน ถูกตั้งข้อกล่าวหาในมาตรา 302 ทั้ง ๆ ที่กฎหมายได้อนุญาตให้แพทย์สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ตามมาตรา...

หยุดจับและดำเนินคดีกับการให้บริการทำแท้งที่ปลอดภัย

0
เสนอตำรวจหยุดจับและดำเนินคดีกับการให้บริการทำแท้งที่ปลอดภัยโดยแพทย์ ระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่ากฎหมายอาญาว่าด้วยการทำแท้งอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ วันที่ 20 ธ.ค.61 เวลา 09.30 น. ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกผู้หญิงท้องไม่พร้อม และเครือข่ายอาสา RSA (Referral system for Safe Abortion) แถลงข่าวกรณีศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาคำร้องกฎหมายอาญามาตรา 301-305 ที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งว่าอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ รศ.ดร.กฤตยา  อาชวนิจกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกผู้หญิงท้องไม่พร้อม...

ทำไมต้องให้ความเสมอภาคแก่ผู้หญิงในการตัดสินใจทำแท้ง

0
มีหลักการ 4 ข้อ ที่ควรจะให้ความเสมอภาคแก่ผู้หญิงในเรื่องการตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ คือ 1) เนื้อตัวร่างกายเป็นสิทธิเสรีภาพโดยสมบูรณ์ของหญิง เมื่อไม่เคยเบียดเบียนคนอื่น หญิงควรมีสิทธิที่จะตัดสินใจได้ว่าจะทำกับตนเองอย่างไร 2) การปล่อยให้ครรภ์ที่ไม่พร้อมคลอดออกมาในสังคม โดยผู้ตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่จะดูแลเป็นการสร้างภาระให้กับผู้หญิง ส่งกระทบต่อทั้งอนาคตของเด็กที่เกิดมา และซ้ำเติมปัญหาให้แก่สังคมในอนาคต 3) สิทธิการตัดสินใจควรจะเป็นของผู้ที่สามารถใช้สิทธินั้นได้ ตราบใดที่ตัวอ่อนยังไม่อาจแยกออกจากครรภ์ จึงเป็นเพียง “อนาคต” ที่ไม่แน่นอน สังคมจะยอมให้อนาคตที่ยังมาไม่ถึงนั้นทำลาย “ปัจจุบัน” ทีเดียวหรือ? ถ้าปัจจุบันถูกทำลายอนาคตก็มีไม่ได้ 4) การห้ามทำแท้งโดยกฎหมายไม่เกิดประโยชน์แก่ใครเลย เพราะเมื่อผู้หญิงต้องการยุติครรภ์ของตน อย่างไรก็ต้องทำ...

ทำไมต้องแก้กฎหมายทำแท้ง ?

0
ข้อเท็จจริงคือ “กฎหมาย” ควรต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐานทำให้แท้งลูก ได้ถูกใช้มากว่า 60 ปีแล้ว สภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองไทยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2560 คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้หยิบยกเอาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301-305 มาปรับปรุง โดยมีแนวโน้มให้ตีความสุขภาพครอบคลุมสุขภาพทางใจ และกรณีตัวอ่อนในครรภ์มีความพิการหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคทางพันธุกรรมด้วย ปัจจุบันการพิจารณาดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ รูปธรรมปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยจากครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม ที่ผลักดันให้ผู้หญิงตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ ได้แก่...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย