โครงการวิจัยประเมินการใช้ยามิฟิพริสโตน (Mifepristone) และ ไมโซพรอสตอล (Misoprostol) ชนิดบรรจุในแผงเดียวกันเพื่อยุติการตั้งครรภ์ หลังได้รับการขึ้นทะเบียนยาในประเทศไทย

0
โครงการวิจัยประเมินการใช้ยา มิฟิพริสโตน (Mifepristone) และ ไมโซพรอสตอล (Misoprostol) ชนิดบรรจุในแผงเดียวกันเพื่อยุติการตั้งครรภ์ หลังได้รับการขึ้นทะเบียนยาในประเทศไทย นายแพทย์ประวิช ชวชลาศัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย บทคัดย่อ การศึกษาประเมินการใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอลชนิดบรรจุในแผงเดียวกันเพื่อยุติการตั้งครรภ์หลัง ได้รับการขึ้นทะเบียนยาในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้ยาและผลการใช้ยามิฟิพริสโตน และไมโซพรอสตอลชนิดบรรจุในแผงเดียวกันเพื่อยุติการตั้งครรภ์เมื่ออยู่ในระบบบริการปกติของหน่วยบริการหลังได้รับ การขึ้นทะเบียนยาในประเทศไทย วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study) เก็บข้อมูล จากแบบบันทึกข้อมูลในรายงาน MTP-03-2 และแบบฟอร์มรายงานการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ กลุ่มเป้าหมาย คือผู้ที่มารับบริการการใช้ยาช่วงระหว่างเดือนมกราคม...

บทสิ้นสุดคำพิพากษา คดีที่เป็นข่าวดัง…เป็นคดีถึงที่สุดแล้ว

0
“เลี้ยงลูกมันไม่ง่ายเหมือนเล่นตุ๊กตา” คำพูดของแพทย์หญิงท่านหนึ่งที่ได้สัมผัสใกล้ชิดผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม เธอเข้าใจ เคารพการตัดสินใจ และให้บริการที่ปลอดภัยทำให้ผู้หญิงไม่บาดเจ็บหรือตายจากการทำแท้งเถื่อน แต่กลับถูกตั้งข้อกล่าวหาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ฐานทำให้แท้งและมีการออกหมายจับและสอบสวนผู้หญิงที่มารับบริการด้วย…นับจากตรงนั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการขับเคลื่อนเพื่อแก้กฎหมายทำแท้งที่เก่าแก่และใช้มานานมากกว่า 60 ปี เพราะการยุติการตั้งครรภ์ไม่ใช่อาชญากรรม แต่คือหนึ่งในบริการสุขภาพ ที่แพทย์ควรให้บริการกับผู้หญิงที่ประสบปัญหาได้อย่างมีศักดิ์ศรี.. “ในบางประเทศ การแก้กฎหมายเป็นไปได้เมื่อมีแพทย์ถูกจับ ถ้าหมอจะต้องเป็นคนคนนั้น หมอก็ยินดี”เริ่มจากเครือข่ายท้องไม่พร้อม และเครือข่ายอาสา RSA ยื่นคำร้องต่อสำนักผู้ตรวจการแผ่นดินในวันสตรีสากลที่ 8 มีนาคม ผ่านไปสองเดือนได้รับคำตอบว่าไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จึงได้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง...

6 ข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อใช้ขับเคลื่อนการพัฒนา “แนวทางการบริการและคุ้มครองสิทธิ์ของวัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่ตั้งครรภ์ต่อ”

0
จากการประชุมเรื่อง “สังคม (ไม่)ทําอะไรกับท้องของวัยรุ่น” จัดโดยเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมครั้งที่46 (1/2562 ) เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2562 ในงานประชุมวิชาการสุขภาวะทางเพศระดับชาติครั้งที่ 3 ณ โรงแรม เซ็นทราศูนย์ประชุมวายุภักดิ์ สาระสำคัญของการประชุม ผู้หญิงท้องต่อส่วนใหญ่อยู่ในภาวะจำยอม เพราะไม่สามารถทำแท้งได้เนื่องจากมีอายุครรภ์ที่สูง มีความเสี่ยงสูงต่อการทำแท้งเองและไม่ปลอดภัยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่จะรู้สึกโดดเดี่ยว และต้องปรับตัวเพื่อให้เกิดการยอมรับที่ตนเองจะต้องท้องต่อจนคลอดต่อไปผู้หญิงท้องไม่พร้อมและท้องต่อในลักษณะนี้จำนวนมากจึงไม่ได้ฝากครรภ์หรือมาฝากเมื่ออายุครรภ์มากแล้วใกล้คลอดและอาจตกอยู่ในสภาวการณ์เปราะบาง ต่อการตัดสินใจทิ้งลูกเมื่อคลอดแล้ว พบตัวอย่างกรณีวัยรุ่นท้องในชุมชน จากประสบการณ์ของโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดนครพนมวัยรุ่นยังไม่รู้สึกปลอดภัยหรือไว้วางใจเมื่อต้องเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือที่ซับซ้อน...

วิธีการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย

0
เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถช่วยให้การยุติการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างปลอดภัยมากขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกกําหนดให้การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยทำได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้ 1) การดูดเนื้อรกจากโพรงมดลูก (Manual Vacuum Aspiration: MVA)วิธีการนี้สามารถทำได้จนถึงอายุครรภ์ประมาณ 10 - 12 สัปดาห์ อุปกรณ์ที่ใช้งานดังกล่าว มีลักษณะเป็นหลอดพลาสติกขนาดต่างๆ ประกอบ คู่กับกระบอกดูดสุญญากาศ เมื่อแพทย์สอดหลอดพลาสติกเข้าไปในโพรงมดลูกสามารถดูดชิ้นเนื้อออกจากโพรงมดลูกได้ ซึ่งสามารถทำให้เกิดการแท้งสมบูรณ์ได้เกือบร้อยละ 100 ในประเทศไทยมีความพยายามที่จะยกเลิกวิธีการยุติการตั้งครรภ์ด้วยการขูดมดลูก (D&C: Dilatation and Curettage หรือการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อนําเอาเนื้อเยื่อของมดลูกออกมา) และแทนที่ด้วยวิธีการดูดเนื้อรกจากโพรงมดลูก...
Female hands, making use of tablet computer

หน่วยบริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในประเทศไทย

0
เมื่อผู้หญิงประสบปัญหาท้องไม่พร้อมไม่สามารถท้องต่อไปได้ จำเป็นต้องทำให้ทางเลือกยุติตั้งครรภ์เข้าถึงได้และปลอดภัย เพื่อมิให้เกิดความเสี่ยงต่อการไปสู่บริการที่ไม่ปลอดภัย มูลนิธิแพธทูเฮลท์ ร่วมกับ เครือข่ายอาสา RSA และ เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ต้องไม่พร้อม แสวงหาหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศไทย และรวบรวมจัดทำข้อมูลอย่างเป็นระบบแบ่งตามจังหวัดและเขตบริการสุขภาพระบุอายุครรภ์และเกณฑ์การให้บริการ พร้อมทั้งข้อมูลการติดต่อประสานงาน โดยทำฐานข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นปัจจุบันทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้สายปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663 เว็บไซต์ปรึกษาออนไลน์ เช่น www.lovecarestation.com , tamtang.wordpress.com และ หน่วยงานที่ให้บริการปรึกษาต่างๆ ได้ใช้ส่งต่อผู้ประสบปัญหาท้องไม่พร้อมเข้าถึงบริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย...

เรื่องเล่าจากห้องไลน์ RSA – การตรวจปัสสาวะหลังทำแท้ง/ยุติการตั้งครรภ์

2
เรื่องเล่าจากห้องไลน์ RSA บทสนทนา ของหมออัลเทอร์ หมอเบลต้า หมอเคลวิน หมออิริค และหมอแฟรี่ (นามสมมุติ ) เรื่องตรวจปัสสาวะหลังยุติฯ เมื่อไหร่ดี ? หมออัลเทอร์ : เรียนปรึกษาพี่หมอทุกท่านครับ หมอเบลต้า : ว่าไงคร้บ เล่าเลยครับ … หมออัลเทอร์ : ผมจะปรึกษาแนวทางการแนะนำให้คนไข้ตรวจการตั้งครรภ์ด้วยปัสสาวะ หลังยุติการตั้งครรภ์ครับ ส่วนตัวผมเองไม่ได้แนะนำให้คนไข้ตรวจเลยในทันที...
Starting The Book

ผลการศึกษาทางคลินิกของยาทำแท้งในประเทศไทย ในอายุครรภ์ไม่เกิน 63 วัน พบว่าประสิทธิภาพของยาอยู่ที่ร้อยละ 96.09

0
ประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 โดยสภาประชากร (Population Council) สำนักงานประเทศไทย ร่วมกับ Gynuity Health Project สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มนำยาไมโซพรอสตอล (ไซโตเทค) มาใช้รักษาอาการแท้งไม่ครบในผู้รับบริการที่มีอายุครรภ์ที่ไม่เกิน 63 วัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ทางสภาประชากร ร่วมกับ Gynuity Health Project สหรัฐอเมริกา...

Thailand Celebrating Abortion Rights เนื่องในวันยุติการตั้งครรภ์สากล International Safe Abortion Day เดือนกันยายน 2564

0
วันที่ 28 กันยายน ของทุกปี นานาชาติจัดให้เป็นวันยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยสากล เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้สังคมโลกตระหนักต่อสิทธิของผู้หญิงในการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ด้วยการกำจัดอุปสรรคต่าง ๆ ทั้งในด้านกฎหมาย ระบบบริการ และทัศนคติของสังคม ที่ทำให้ผู้หญิงเข้าไม่ถึงบริการจนเกิดการบาดเจ็บและตายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย ในปีที่ผ่านมาพบว่า มีความก้าวหน้าของการปรับแก้กฎหมายที่สำเร็จในหลายประเทศ เช่น อาเจนติน่า เกาหลีใต้ เอควาดอร์ ออสเตรเลีย รวมทั้งประเทศไทย คำขวัญสำหรับการรณรงค์ในปี 2564 นี้ คือ Safe...

สงเคราะห์เด็กอ่อน และอุปการะเด็กโดยภาคเอกชน

0
สงเคราะห์เด็กอ่อน และอุปการะเด็ก ที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน มูลนิธิสงเคราะห์เด็กพัทยา ที่ตั้ง : 384 หมู่6 ถนนสุขุมวิท กม.144 ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี การติดต่อ : 038 423 468 , 038 416 426 เว็บไซต์ : www.thepattayaorphanage.org อีเมล์ : info@thepattayaorphanage.org บริการที่ให้และเงื่อนไขการรับบริการ...

ใช้ยายุติการตั้งครรภ์ ยาทำแท้ง ให้ปลอดภัยได้อย่างไร?

0
ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม มักไม่สามารถบอกหรือปรึกษาใครได้ เมื่อหาทางออกไม่ได้  มักจะคิดถึงการยุติตั้งครรภ์ไว้ก่อน หลังจากนั้นก็จะหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และถูกชักนำไปให้ซื้อยาทำแท้งทางไปรษณีย์ โดยไม่อาจรู้ได้ว่า ยาที่จะได้รับนั้นเป็นยาจริงหรือยาปลอม ขนาดยาเหมาะสม และวิธีการใช้ถูกต้องตามอายุครรภ์หรือไม่ เพียงหวังให้ผู้หญิงและทุกๆ คน มีข้อมูล มีความเข้าใจที่รอบด้านเกี่ยวกับยาทำแท้ง เพื่อเตือนให้ฉุกคิดถึงอันตรายจากการใช้ยาทำแท้งไม่ถูกต้อง เข้าใจอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น และแนวทางปฎิบัติหากพบอาการที่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยไม่รอช้า เพื่อป้องกันการติดเชื้อและรักษาชีวิตอันมีค่าของตัวเองไว้ ไม่ได้ต้องการให้เป็นคำแนะนำสำหรับการหาซื้อยายุติการตั้งครรภ์มาใช้เอง เนื่องจากการดูแลรักษาผู้ที่ท้องไม่พร้อมและต้องการยุติการตั้งครรภ์ ยังมีองค์ประกอบอย่างอื่นที่สำคัญอีกมาก เช่น การให้การปรึกษา การให้กำลังใจ หรือ...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย