ลุงหมอเรืองกิตติ์

ลุงหมอเรืองกิตติ์

เรื่องเล่าจากประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอนามัยการเจริญพันธุ์ การคุมกำเนิด ท้องไม่พร้อม การยุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) โดย นพ.เรืองกิตติ์ ศิริกาญจนกูล เครือข่ายอาสา RSA

สิทธิยุติการตั้งครรภ์ทำได้ปลอดภัยถูกกฎหมาย ผู้หญิงจะทำอย่างไร (ตอนจบ)

0
คำแนะนำการยุติการตั้งครรภ์ในยุคที่มีกฎหมายทำแท้งใหม่ หรือพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 28 พ.ศ. 2564 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ซึ่งผู้หญิงจะได้รับสิทธิให้ทำแท้งถูกต้องตามกฎหมาย ดังนี้1. อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ เป็นช่วงที่ผู้หญิงมีสิทธิทำแท้งได้ กฎหมายมาตรา 301 จะปกป้องผู้หญิงได้และหญิงยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์เมื่อมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ตามกฎหมายมาตรา 305 อนุ...

สิทธิยุติการตั้งครรภ์ทำได้ปลอดภัยถูกกฎหมาย ผู้หญิงจะทำอย่างไร

0
ประเทศไทยยังมีเรื่องที่สะเทือนใจต่อเนื่องกับผู้หญิงทำแท้งที่ลงเอยด้วยการพาดหัวข่าวที่สะท้อนถึงปัญหาเรื่องความไม่เข้าใจหลาย ๆ อย่างของผู้ประสบปัญหาและสื่อ ดูได้จากข่าวเหล่านี้   28 ม.ค. 2564 “พบศพทารกคาดอายุครรภ์ 6 เดือนพันด้วยโสร่งนำมาทิ้งบ่อขยะจังหวัดกระบี่” 24 เม.ย. 2564 “จับสาววัย 30 ทิ้งศพทารกอายุครรภ์ 7 เดือนในห้องน้ำหญิง สนามบินดอนเมือง” 26 เม.ย. 2564 “พบศพทารกอายุครรภ์ 4-5 เดือน ยัดทิ้งชักโครกห้องน้ำวัดดัง...

การยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม ดีกว่า ปลอดภัยกว่า

0
กระบวนการดูแลการยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม Comprehensive Safe Abortion Care: CACประกอบด้วย 9 ขั้นตอนตามลำดับ คือ ช่วงก่อนการยุติการตั้งครรภ์: ประเมินและการปรึกษาให้ข้อมูล1. ให้การปรึกษาทางเลือก ผู้หญิงมีอิสระที่จะตัดสินใจเลือกตั้งครรภ์ต่อหรือไม่ ได้ด้วยตนเอง2. การประเมินข้อบ่งชี้ การยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย3. การปรึกษาก่อนการยุติการตั้งครรภ์4. การซักประวัติและตรวจร่างกาย  ช่วงรักษาหรือยุติการตั้งครรภ์5. การยุติการตั้งครรภ์ด้วยวิธีหัตถการกระบอกดูดสุญญากาศ (MVA) หรือด้วยยายุติการตั้งครรภ์ ช่วงหลังยุติการตั้งครรภ์6. การปรึกษาหลังการยุติการตั้งครรภ์7. การติดตามหลังให้บริการ8. การดูแลภาวะแทรกซ้อน9....

การยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม ดีกว่า ปลอดภัยกว่า (ต่อ)

0
ตอนที่ 3 แด่ RSA: ขอบคุณที่ช่วยครอบครัวผม..เพราะลูกเป็นดวงใจของผม, ขอบคุณที่ทำให้หนูมีที่ยืนค่ะ หนูรู้สึกว่าโตขึ้นมาก..ชีวิตหนูเปลี่ยนไป, หนูจะตั้งใจเรียนและหางาน..ทำงานหาเงินเลี้ยงครอบครัว หนูจะเลี้ยงแม่เอง, หนูขอบคุณที่ช่วยให้หนูไม่ต้องไปทำแท้งเถื่อน, ขอบคุณ คุณหมอหลายๆ จ้าว..ที่ช่วยหนู, ขอบคุณที่ให้ทางเลือกและโอกาสสำหรับพวกเรา ช่องว่างในการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ยังมีอีกมาก หน่วยบริการยุติการตั้งครรภ์ยังน้อย ในจังหวัดต่างๆ เพียง 33 จังหวัด ผู้หญิงท้องไม่พร้อมต้องเดินทางไกลหลายร้อยกิโลเมตร จึงเข้าถึงหน่วยบริการเหล่านี้ เป็นอุปสรรคสำหรับคนที่มีปัญหาเศรษฐกิจ ยากจนอยู่แล้ว ยิ่งทำให้มาปรึกษาล่าช้า...

การยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม ดีกว่า ปลอดภัยกว่า (ต่อ)

0
ตอนที่ 2 ในประเทศไทย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย ได้จัดอบรมแพทย์ พยาบาล เรื่องการใช้ยายุติการตั้งครรภ์ทั่วประเทศ ขณะเดียวกันในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 ได้จัดตั้งเครือข่ายอาสา RSA ที่ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล และสหวิชาชีพ เพื่อจัดระบบการส่งต่อและรับส่งต่อเพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่เป็นมิตรและปลอดภัย และสนับสนุนยายุติการตั้งครรภ์ (ยาชื่อ Medabon) ให้โรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนกับกรมอนามัย เพื่อใช้ยุติการตั้งครรภ์ มีผู้หญิงที่ได้รับการยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา...

การยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม ดีกว่า ปลอดภัยกว่า

0
ตอนที่ 1 สถานการณ์ปัจจุบันคาดคะเนว่าประเทศไทยน่าจะมีอัตราการทำแท้งระหว่าง 14.2 - 440 ต่อพันการเกิดมีชีพ หรือประมาณ 9,000 - 270,000 ครั้งต่อปี แต่เพราะประเทศไทยแม้จะมีกฎหมายมาตรา 305 และข้อบังคับแพทยสภาที่อนุญาตให้ผู้หญิงท้องไม่พร้อมทำแท้งได้เฉพาะที่มีเงื่อนไขกำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยต่างๆ ทำให้ผู้หญิงเหล่านี้ยากที่จะได้รับการทำแท้งจากแพทย์ได้โดยยังไม่มีช่องทางการให้บริการยุติการตั้งครรภ์อย่างเป็นระบบในโรงพยาบาลต่างๆ แพทย์ พยาบาล ไม่ยอมรับ ไม่ให้เกิดบริการนี้ บังคับไม่ได้ จุดยืนทัศนคติต่อต้าน...

ความเชื่อ อุปสรรค และเพื่อนร่วมทาง

1
มีเหตุการณ์ในเดือนกันยายน 2563 เกิดเหตุที่โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในจังหวัดภาคเหนือ พยาบาลไลน์มาปรึกษาเครือข่ายอาสา RSA คุณพยาบาล : “มีแม่อายุ 38 ปี ตั้งครรภ์ไม่ได้วางแผนอายุครรภ์ 19 สัปดาห์ เจาะน้ำคร่ำตรวจโรคดาวน์ซินโดรม ผู้หญิงรายนี้ติดเชื้อเอชไอวี ตั้งแต่ปี 2558 ไม่ได้มารับการรักษาเลย หากต้องการยุติการตั้งครรภ์สามารถส่งต่อที่ไหนบ้างคะอาจารย์ คนไข้รายได้น้อย ตอนนี้เริ่มยารักษาเอชไอวีได้ไม่ถึง 3 สัปดาห์” “คุณหมอที่โรงพยาบาลไม่รับยุติการตั้งครรภ์เลยค่ะ เลยส่งมาปรึกษา คนไข้ประสงค์ที่จะยุติ...

ผู้หญิงไทย 8,201 คน ยอมเสี่ยงตาย เพราะ… ?

1
บทความนี้จึงจะชี้ให้เห็นข้อเท็จของสถานการณ์ผู้หญิงที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ในอายุครรภ์ต่างๆ และที่เกิน 12 สัปดาห์ และงานวิจัยที่จะเปิดเผยคัดค้านร่างกฎหมายและความคิดเห็นขององค์กรวิชาชีพ มาติดตามกันนะครับ โดยขอยกความคิดเห็นที่เห็นต่าง ขัดแย้งทางความคิดของการยุติการตั้งครรภ์มาดูกัน ผู้ที่ไม่ค่อยเห็นด้วย : “สิ่งที่พวกคุณ (หมอที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์) พูดมาว่าผู้หญิงที่ต้องการทำแท้งมีเหตุผล มีข้อบ่งชี้ แต่กลับไม่ได้รับการช่วยเหลือ ต้องไปเสี่ยงชีวิตทำแท้งกับหมอเถื่อน แล้วต้องติดเชื้อ ตกเลือด มันเป็นเรื่องเดิมๆ ที่วนเวียนได้ยินได้ฟังมาตลอดเป็นสิบๆ ปี พวกหมอที่ชอบทำแท้งก็ทำไป แต่หมอที่ไม่ทำแท้งจะไปว่าเขาผิดก็ไม่น่าจะได้นะ เขาไม่ผิดเพราะมีความเชื่อต่างกันว่ามันเป็นบาป ทำร้ายเด็ก...

ผู้หญิงทั่วโลกเกือบ 70,000 คน เสียชีวิตทุกปีจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย

0
เดือนกันยายนของทุกปี ทั่วโลกจะมีการจัดรณรงค์เพื่อเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย เพราะมีผู้หญิงจำนวนถึง 47,000-70,000 คนทั่วโลก ต้องเสียชีวิตทุกปีจากสาเหตุการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย องค์การอนามัยโลกจึงประกาศให้การเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยเป็นนโยบายสุขภาพที่สำคัญระดับโลกทางโครงการพัฒนาเครือข่ายบริการที่ปลอดภัย จึงรณรงค์ตามแนวทางของนานาชาติคือ "การยุติการตั้งครรภ์คือบริการสุขภาพ" ช่วงเดือนกันยายน 2563 ประเทศไทย ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญต่อเนื่องมาจากปลายเดือนสิงหาคมเกี่ยวกับความคิดเห็นที่ต่างกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง, องค์กรวิชาชีพในเรื่องการปรับแก้กฎหมายการยุติการตั้งครรภ์เกี่ยวกับอายุครรภ์ที่ควรได้รับการยุติการตั้งครรภ์  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกาได้มีการแจ้งร่างการแก้กฎหมายยุติการตั้งครรภ์มาตรา 301, 305 ประกาศในเว็บไซต์ของสำนักงาน มีการให้เหตุผลว่าร่างนี้ได้มาจากการรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และประกาศให้ประชาชนส่งความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายดังกล่าวไปที่เว็บของสำนักงานได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ช่วงแรกตั้งแต่วันที่ 13 – 28 สิงหาคม 2563...

เรื่องเล่า ‘ท่ามกลางขุนเขา’ (ตอนจบ)

1
ปกติถ้ามีข้อบ่งชี้ชัดเจน คุณหมอส. จะคุยเองเลยแต่ถ้าเหตุอื่นที่ไม่ชัดเจนจะมีคุณหมออีกคนช่วยดูให้ ข้อบ่งชี้ในการยุติการตั้งครรภ์ที่ชัดเจนที่จะทำให้ ในกรณีถูกข่มขืน สุขภาพแม่เช่น โรคเบาหวาน โรคSLE มะเร็งเต้านม ไตวาย ,ทารกพิการรุนแรง ที่อาจจะช่วยยุติการตั้งครรภ์ ในกรณี ติดเชื้อ HIV ทารกในครรภ์เป็นโรคธาลัสซีเมียรุนแรง (major thalassemia) ทารกพิการไม่รุนแรง พลาดท้องจากการทำหมัน ใส่ห่วงอนามัย ฝังยาคุม ติดเชื้อหัดเยอรมัน มีบุตรพอแล้ว...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย