การขึ้นทะเบียนสถานพยาบาล เพื่อให้บริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยา

0
โรงพยาบาล สถานบริการ ที่ต้องการสมัครรับยา Medabon® ทางสปสช. กำหนดการขึ้นทะเบียนทุก 3 เดือน เพื่อรับยาผ่านระบบ Smart VMI รอบขึ้นทะเบียนต่อไปคือ มกราคม 2564 โรงพยาบาล สถานบริการต่างๆ ที่มีความพร้อมในการให้บริการยุติตั้งครรภ์โดยการใช้ยา สามารถแสดงความจำนงมายังกรมอนามัย โดยกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ตามแบบรายงานที่กรมอนามัยกำหนด สนใจสมัครรับยา ให้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการกับกรมอนามัย โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มขึ้นทะเบียน MTP-1 และ MTP-2 ได้ที่ http://rh.anamai.moph.go.th/main.php?filename=safe_abortion  ขั้นตอนการเข้าร่วมขึ้นทะเบียนของสถานพยาบาล เพื่อให้บริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยา สถานพยาบาลต่างๆ...

การศึกษาภาวะซึมเศร้าของสตรีตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เข้ารับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์

0
การศึกษาภาวะซึมเศร้าของสตรีตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เข้ารับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ โดย นพ.ภุชงค์ ไชยชิน นางวิจิตรา วาลีประโคน ...หลังการยุติการตั้งครรภ์ พบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่มีระดับภาวะซึมเศร้าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งในกลุ่มที่ผิดปกติ พบว่าเป็นผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลางถึงมากที่สุด จึงตอบคำถามการวิจัยได้ว่าภาวะซึมเศร้าหลังการยุติการตั้งครรภ์ของผู้รับบริการส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติและ เมื่อเปรียบเทียบระดับภาวะซึมเศร้าก่อนและหลังยุติการตั้งครรภ์ พบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าที่ลดลงซึ่งแสดงว่าผลการรักษาดีขึ้น แต่ก็ยังพบว่ามีผู้รับบริการร้อยละ 10.3 ที่ระดับภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น ซึ่งคล้ายกับการศึกษาของ Christensen และคณะ ที่พบว่าสตรีตั้งครรภ์ไม่ตั้งใจมีภาวะซึมเศร้าในระยะหลังคลอด ร้อยละ 10.2...

คู่มือ : การช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้

0
คู่มือ : การช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้ดาวน์โหลด แนวทางการช่วยเหลือดูแลผู้หญิงท่ีประสบปัญหาท้องไม่พร้อม โดยใช้แนวทางปรึกษาทางเลือกที่ศูนย์พึ่งได้ มีกระบวนการดำเนินงานตั้งแต่การคัดกรองผู้ประสบปัญหา ให้การปรึกษาทางเลือก ให้ความช่วยเหลือตามทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ต่ออย่างมีคุณภาพ และการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย รวมทั้งการติดตามดูแลต่อเนื่องหลังจากรับบริการตามทางเลือก ที่มา : คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้ สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข https://phdb.moph.go.th/phdb2017/index.php?&p=1&type=3&t=3&id=25&sec=5

โครงการวิจัยรูปแบบการจัดระบบบริการ การยอมรับการยุติการตั้งครรภ์โดยใช้ยาในประเทศไทย

0
โครงการวิจัยรูปแบบการจัดระบบบริการ การยอมรับการยุติการตั้งครรภ์โดยใช้ยาในประเทศไทย เรณู ชูนิล ดร.วรรณภา นาราเวช บทคัดย่อ การศึกษาเรื่องรูปแบบการจัดระบบบริการและการยอมรับการยุติการตั้งครรภ์โดยใช้ยาในประเทศไทย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดระบบริการการยุติการตั้งครรภ์โดยใช้ยา และการยอมรับบริการยุติการตั้งครรภ์โดยใช้ยาของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ อันจะนำไปสู่แนวทางในการพัฒนาการจัดระบบริการและการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพต่อไป วิธีการศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants) ทั้งผู้ให้บริการ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ ผู้รับบริการ รวมทั้งผู้แทนองค์กรที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการยุติการตั้งครรภ์โดยใช้ยารวม 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content...
Medical Doctor Concept

ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฎิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์

0
ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฎิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ law-305

6 ข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อใช้ขับเคลื่อนการพัฒนา “แนวทางการบริการและคุ้มครองสิทธิ์ของวัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่ตั้งครรภ์ต่อ”

0
จากการประชุมเรื่อง “สังคม (ไม่)ทําอะไรกับท้องของวัยรุ่น” จัดโดยเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมครั้งที่46 (1/2562 ) เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2562 ในงานประชุมวิชาการสุขภาวะทางเพศระดับชาติครั้งที่ 3 ณ โรงแรม เซ็นทราศูนย์ประชุมวายุภักดิ์ สาระสำคัญของการประชุม ผู้หญิงท้องต่อส่วนใหญ่อยู่ในภาวะจำยอม เพราะไม่สามารถทำแท้งได้เนื่องจากมีอายุครรภ์ที่สูง มีความเสี่ยงสูงต่อการทำแท้งเองและไม่ปลอดภัยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่จะรู้สึกโดดเดี่ยว และต้องปรับตัวเพื่อให้เกิดการยอมรับที่ตนเองจะต้องท้องต่อจนคลอดต่อไปผู้หญิงท้องไม่พร้อมและท้องต่อในลักษณะนี้จำนวนมากจึงไม่ได้ฝากครรภ์หรือมาฝากเมื่ออายุครรภ์มากแล้วใกล้คลอดและอาจตกอยู่ในสภาวการณ์เปราะบาง ต่อการตัดสินใจทิ้งลูกเมื่อคลอดแล้ว พบตัวอย่างกรณีวัยรุ่นท้องในชุมชน จากประสบการณ์ของโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดนครพนมวัยรุ่นยังไม่รู้สึกปลอดภัยหรือไว้วางใจเมื่อต้องเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือที่ซับซ้อน...

การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ผิดกฎหมาย โดย ศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ

0
การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ผิดกฎหมาย โดย ศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ปัญหาเรื่องการทำแท้งในเมืองไทยเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันไปได้ไม่รู้จบ ยิ่งหากยกเอาเรื่องศีลธรรมขึ้นมากล่าวอ้างถกเถียงกันไปมา โดยไม่เคยฟังคนที่ตั้งครรภ์เลยว่าเขาคิดอย่างไร ในขณะที่รัฐก็ออกกฎหมายบังคับเอากับหญิงที่ไปทำแท้ง ทำให้เกิดความรู้สึกว่า แม้โดยส่วนตัวผมเองจะไม่สนับสนุนให้มีการทำแท้ง แต่เห็นว่า การยุติการตั้งครรภ์อันไม่พึงปราถนานั้น เป็นสิทธิอันชอบธรรมของหญิง ในเมื่อเขาไม่พร้อมที่จะมีจะบังคับให้หญิงอุ้มท้องต่อไป โดยที่รัฐก็ไม่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเลย จึงขาดความชอบธรรมที่จะลงโทษหญิงที่ไปทำแท้ง ... ที่มา : การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ผิดกฎหมาย โดย ศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมฉบับ ตุลาคม - ธันวาคม...

โครงการวิจัยประเมินการใช้ยามิฟิพริสโตน (Mifepristone) และ ไมโซพรอสตอล (Misoprostol) ชนิดบรรจุในแผงเดียวกันเพื่อยุติการตั้งครรภ์ หลังได้รับการขึ้นทะเบียนยาในประเทศไทย

0
โครงการวิจัยประเมินการใช้ยา มิฟิพริสโตน (Mifepristone) และ ไมโซพรอสตอล (Misoprostol) ชนิดบรรจุในแผงเดียวกันเพื่อยุติการตั้งครรภ์ หลังได้รับการขึ้นทะเบียนยาในประเทศไทย นายแพทย์ประวิช ชวชลาศัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย บทคัดย่อ การศึกษาประเมินการใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอลชนิดบรรจุในแผงเดียวกันเพื่อยุติการตั้งครรภ์หลัง ได้รับการขึ้นทะเบียนยาในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้ยาและผลการใช้ยามิฟิพริสโตน และไมโซพรอสตอลชนิดบรรจุในแผงเดียวกันเพื่อยุติการตั้งครรภ์เมื่ออยู่ในระบบบริการปกติของหน่วยบริการหลังได้รับ การขึ้นทะเบียนยาในประเทศไทย วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study) เก็บข้อมูล จากแบบบันทึกข้อมูลในรายงาน MTP-03-2 และแบบฟอร์มรายงานการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ กลุ่มเป้าหมาย คือผู้ที่มารับบริการการใช้ยาช่วงระหว่างเดือนมกราคม...

ราชกิจจานุเบกษา : กฏกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2562

0
รู้หรือไม่ว่า...กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 25 มกราคม 2562 มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 (60 วันหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา) กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2562 โดยมีสาระสำคัญประกอบไปด้วย สถานบริการทุกแห่งต้องให้บริการข้อมูลข่าวสารและความรู้ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์กับวัยรุ่นในเรื่องสิทธิของวัยรุ่นตาม พ.ร.บ. เพศวิถีศึกษา การคุมกำเนิด การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี/เอดส์...

แผ่นพับเครือข่ายอาสา RSA (ล่าสุด63) Referral System for Safe Abortion

0
ปลอดภัยใส่ใจ "คุณภาพชีวิต" RSAThai อาสาปิดทองหลังพระ ทำไมต้องมี RSA เพราะว่า.. ยังมีผู้หญิงที่จำเป็นต้องได้รับบริการที่เข้าข่ายการทำแท้งตามกฎหมาย แต่เข้าถึงหน่วยบริการได้ยากและราคาแพง จึงต้องเข้าไปสู่การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ทำให้บาดเจ็บมีภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตผลกระทบที่เกิดขึ้น..การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมส่งผลต่อการเกิดที่ไม่มีคุณภาพ น้ำหนักแรกคลอดต่ำ ถูกทอดทิ้ง กำพร้า ขาดสารอาหาร ขาดการดูแลเอาใจใส่ เติบโตโดยไม่มีครอบครัวดูแล สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรไทยในอนาคต ข้อบ่งชี้ของการยุติการตั้งครรภ์ที่สอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับแพทยสภามีอะไรบ้าง ?การตั้งครรภ์นั้นๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้หญิง ตัวอ่อนในครรภ์พิการ การตั้งครรภ์เกิดจากความผิดทางเพศ ได้แก่...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย